สีพิมพ์สกรีนธรรมชาติจากการสกัดผักปลังนาโนซิงค์ออกไซด์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ปิยธิดา มาตรพร, เจนจิรา วชิรวัตถานนท์, ณัฐพร พิมพ์จำปา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ปาจรีย์ วงศ์ภักดี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนกัลยาณวัตร

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาศึกษาวิธีการสารสกัดผงสีจากผลผักปลัง เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการทำสีพิมพ์สกรีนจากผลผักปลังและเพื่อศึกษาประสิทธิภาพสีพิมพ์สกรีนโดยใช้นาโนซิงค์ออกไซด์ทำให้สีติดผ้าได้นาน ผู้ศึกษาได้แบ่งการทดลองออกเป็น 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนการศึกษาวิธีการสกัดผงสีที่ได้จากผลผักปลัง ขั้นตอนศึกษาอัตราส่วนปริมาณผงสีต่อปริมาณน้ำยางพาราที่เหมาะสม ขั้นตอนการศึกษาระยะเวลาการยึดติดของสีที่เหมาะสมของน้ำยางพาราและขั้นตอนศึกษาปริมาณอัตราส่วนของนาโนซิงค์ออกไซด์ต่อปริมาณผงสีที่เหมาะสม ผลจากการศึกษาพบว่าผ้าที่ได้จากการพิมพ์สกรีนของอัตราส่วนระหว่างผงสีจากผลผักปลังต่อน้ำยางพาราอัตราส่วนที่ดีที่สุดคือ 1:1 แล้วนำมาจับระยะเวลาในการยึดติดของสีที่ 24 ชั่วโมงมีค่าความเข้มของสีมากที่สุด และปริมาณนาโนซิงค์ออกไซด์ที่ดีที่สุดที่มีผลต่อค่าความเข้มของสีและความคงทนของสีคือปริมาณ 0.1 กรัม เมื่อนำมาทดสอบโดยการซัก ขัดถูและรีดทับ พบว่าปริมาณนาโนซิงค์ออกไซด์ที่มีค่าความเข้มของสีและความคงทนของสีที่ดีที่สุดคือ ปริมาณ 0.1 กรัม และผ้าที่การมียึดติดของสีที่ดีที่สุดคือผ้า ด้ายดิบ แสดงให้เห็นว่าสีพิมพ์สกรีนธรรมชาติจากการสกัดผลผักปลังผสมนาโนซิงค์ออกไซด์สามารถใช้ทดแทนสีสังเคราะห์ได้ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค สามารถต่อยอดให้เป็นสินค้าเป็นมิตรต่อธรรมชาติ ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติให้เกิดประโยชน์