การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากดอกกานพลูในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา Pyricularia oryzae ที่เป็นสาเหตุของโรคใบไหม้ในต้นข้าว
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธันยนิษฐ์ รักดำ, ณภัทร แร่ทอง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พนัสสา ปลอดภัย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานการศึกษาประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากดอกกานพลูในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา Pyricularia oryzae ที่เป็นสาเหตุของโรคใบไหม้ในต้นข้าว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากดอกกานพลูในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา Pyricularia oryzae
เนื่องจากในดอกกานพลูมีน้ำมันหอมระเหยที่ประกอบด้วยสาร Eugenol, Eugenyl acetate, β-caryophyllene, trans-β-caryophyllene, Vanillic acid, benzoic acid ซึ่งสารดังกล่าวนี้มีคุณสมบัติสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ ซึ่งโครงงานนี้มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมเชื้อรา การเตรียมสารสกัดจากดอกกานพลูและการทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา คือ การนำไปทําการทดสอบด้วยวิธี Poisoned Food Technique โดยใช้สารสกัดจากดอกกานพลูที่ผสมกับอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA ความเข้มข้น ที่ 0 ,100 ,200 ,300 ,400 และ 500 ppm
จากนั้นเลือกตัดบริเวณขอบนอกของโคโลนีและนําชิ้นส่วนเชื้อราที่เพาะเลี้ยงไว้มาวางบนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA ที่ระดับความเข้มข้นต่างๆแล้วนําไปบ่มที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 วัน จากนั้นทำการตรวจผลการทดสอบโดยการวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของโคโลนีของเชื้อราที่เจริญบน PDA ทําการทดลองทั้งหมด 5 ครั้งและนําค่าที่ได้มาคํานวณหาเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญของเชื้อรา