การศึกษาความน่าเป็นในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของโรคตาบอดสีในมนุษย์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
มิ่งกมล แก้วพลงาม, นิติภูมิ สิทธิเสนา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ธีระวุฒิ จันทะพันธ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาหาความน่าจะเป็นในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมในโรคตาบอดสีในมนุษย์ 2) เพื่อทำนายการเกิดโรคโรคตาบอดสีในมนุษย์ โดยตาบอดสี (Color Blindness/Color Vision Deficiency) เป็นภาวะการมองเห็นสีบางสีได้ไม่ชัดเจนหรือผิดเพี้ยนไปจากผู้ที่มีสายตาผิดปกติ โดยมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง หากคุณมองไม่เห็นตัวเลขในภาพด้านล่างนี้ อาจสันนิษฐานได้ว่าคุณเป็นตาบอดสี การมองเห็นสีของดวงตาจะต้องอาศัยเซลล์หลังจอตา 2 ชนิดเป็นส่วนสำคัญในการแยกสีที่เรามองเห็น คือ เซลล์รูปแท่ง (Rod Cell) ที่มีความไวต่อการรับแสงแบบสลัว โดยใช้สำหรับการมองเห็นในเวลากลางคืน แต่สีที่มองเห็นจะเป็นสีในโทนดำ ขาว และเทาเท่านั้น ส่วนอีกชนิด คือ เซลล์รูปกรวย (Cone Cell) ที่มีความไวในการรับแสงที่สว่างกว่าเซลล์รูปแท่ง และสามารถแยกแสงสีต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน โดยเซลล์รูปกรวยนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย คือ เซลล์รูปกรวยชนิดที่ไวต่อแสงสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งในคนปกติจะมีเซลล์รูปกรวยครบทั้ง 3 ชนิดที่ไวต่อแสง แต่ละสีก็จะส่งสัญญาณไปยังสมองในการแยกสี และการผสมของแสงสีต่าง ๆ จากเซลล์นี้ จึงทำให้คนปกติสามารถมองเห็นสีได้หลายโทนสี ตาบอดสีเป็นภาวะพบได้บ่อยในผู้ชายประมาณ 8% และพบในผู้หญิงได้ประมาณ 0.4% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งสีที่คนมักเป็นตาบอดสี คือ สีเขียว เหลือง ส้มและสีแดง ส่วนภาวะตาบอดสีทุกสี (Achromatopsia) จะพบได้น้อยมาก
ซึ่งจากผลวิจัย สามารถหาความน่าจะเป็นในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของโรคตาบอดสีในมนุษย์ได้ และสามารถทำนายการเกิดของโรคตาบอดสีในมนุษย์ได้