การประยุกต์ใช้เซลลูโลสจากสาหร่ายในผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์สำหรับผู้แพ้โปรตีนจากสัตว์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
เตชิษฏ์ ศิริวงศ์, ชาคริมา นครพันธ์, พิมพ์ภัทรา ชัยหิรัญกิตติ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กาญจนา องคศิลป์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เปลือกแคปซูลยาที่ผลิตและจำหน่ายมากในปัจจุบันใช้เจลาตินเป็นส่วนประกอบหลัก ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อผู้ป่วยที่มีอาการแพ้โปรตีนจากสัตว์ และเกิดความลำบากใจสำหรับบุคคลที่ต่อต้านการรับประทานผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ รวมถึงจะต้องมีการเลี้ยงและฆ่าสัตว์เพื่อนำมาสกัดเป็นผลิตภัณฑ์ ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายและใช้ระยะเวลาในการผลิตมาก
คณะวิจัยได้ศึกษาข้อมูลคุณสมบัติของสาหร่ายไก พบว่ามีเซลลูโลส (Cellulose) เป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งมีลักษณะเป็นสารไฮโดรคอลลอยด์ (Hydrocolloid) เมื่อละลายน้ำแล้วจะมีคุณสมบัติความข้นหนืดใกล้เคียงกับเจลาตินโดยคาดว่าหากมีการปรับโครงสร้างเซลลูโลสจากสาหร่ายไกจะสามารถขึ้นรูปเป็นฟิล์มทำเปลือกแคปซูลหรือวัสดุนำส่งยาได้ ประกอบกับในช่วงหน้าแล้งที่ระดับน้ำในแม่น้ำมีการลดลงผิดปกติส่งผลกระทบให้เกิดปรากฏการณ์ขยายพันธุ์ของสาหร่ายไกอย่างรวดเร็ว ระบบนิเวศบริเวณลุ่มแม่น้ำเสียสมดุล ปริมาณสัตว์น้ำลดลง กระทบต่อเศรษฐกิจการประมงน้ำจืด งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์ที่จะศึกษาโครงสร้างเซลลูโลสจากสาหร่ายไกเพื่อผลิตเปลือกแคปซูลยาสำหรับนำส่งยาสู่ร่างกาย ซึ่งสามารถที่จะช่วยลดปริมาณสาหร่ายไกที่เจริญเติบโตเร็วมากเกินความสมดุลบริเวณลุ่มแม่น้ำ และเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยหรือผู้บริโภคบางกลุ่มที่ไม่รับประทานผลิตภัณฑ์จากสัตว์ อีกทั้งยังสามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ระยะเวลาในการผลิตได้อีกด้วย