การใช้แอนโทไซยานินจากพืชในการตรวจสอบเหล็ก
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กุลธิดา กิมเอ๊ะ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จิราพร ศิริรัตน์, สาวิตรี ด้วงสุข
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
งานวิจัยนี้ได้พัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณเหล็ก (II) โดยอาศัยหลักการเกิดปฏิกิริยาของสารเชิงซ้อนระหว่างเหล็ก (II) และสารสกัดแอนโทไซยานินจากผลสุกลูกเถาคันแดงและผลสุกลูกเลือดเป็นตัวตรวจวัด โดยใช้ภาพถ่ายจากสมาร์ทโฟนและตรวจวัดค่าความเข้มสีในระบบ RGB ด้วยแอปพลิเคชัน ColorAssist และศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารแอนโธไซยานิน ซึ่งได้แก่ 1.) ศึกษาตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสารแอนโธไซยานิน โดยตัวทำละลายทั้งหมด 4 ชนิดคือ น้ำปราศจากไอออน เอทานอล 95% ไฮโดรคลอริก 1%ในเอทานอล 95% และ ไฮโดรคลอริก 1% ในเอทานอล 50% 2.) ศึกษาเวลาที่เหมาะสมที่ใช้ในการสกัดสารแอนโธไซยานินโดยใช้เวลาคือ 30,60,90, 120 ,150 และ 180 นาที 3.) ศึกษาอัตราส่วนระหว่างวัตถุดิบต่อตัวทำละลายที่ใช้ในการสกัด คือ 1:20 1:50 และ 1:100 การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการตรวจวัดไอออนโลหะ และนำสารสกัดแอนโทไซยานินจากผลสุกลูกเถาคันแดงและผลสุกลูกเลือดไปประยุกต์ใช้ในการตรวจวัดไอออนเหล็กในน้ำตัวอย่างจริงโดยเปรียบเทียบกับเทคนิคยูวี-วิสิเบิล สเปกโทรโฟโตเมทรีเทียบกับการใช้แอปพลิเคชันจากสมาร์ทโฟน