การเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในสารสกัดผักโขมบ้าน ผักโขมขาว ผักโขมแดงและการยับยั้งการเหม็นหืนของข้าวเกรียบ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วรรณิษา แก้วสม, อัครชา ยุ้นชั้น
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ขวัญใจ กาญจนศรีเมฆ, จิราพร ศิริรัตน์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด ในสารสกัดจากสดผักโขม 3 ชนิดคือ ผักโขมบ้าน ผักโขมขาวและผักโขมแดง โดยวิธี Folin-Ciocalteu และหาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดใบผักโขมโดยวิธี โดยวิธี 2,2-diphenyl-1-pierylhydrazyl (DPPH) สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดใบผักโขมโดยทำการศึกษา สารสกัดใบผักโขมสดที่ผ่านกรรมวิธี 2 วิธี คือ 1)การสกัดแบบร้อนแบบไหลย้อนกลับ (reflux extraction ) 2) การสกัดแบบแบบแช่ (maceration method โดยใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย นำน้ำสกัดจากผักโขม เติมลงในส่วนผสมของข้าวเกรียบในปริมาณ 10% 25% และ 50% ของน้ำหนักส่วนผสมทั้งหมดตรวจสอบการเกิดออกซิเดชันของไขมันในข้าวเกรียบที่เก็บบ่มอุณหภูมิ 55°C ระยะเวลา 25 วัน โดยวิธีวิเคราะห์ Peroxide value (PV) และค่า Thiobarbituric acid (TBARS)