การสกัดน้ำมันที่มีปริมาณกรดไขมันลอริกสูงจากมะพร้าวและเมล็ดในปาล์มด้วยเทคนิค Super Critical Carbon dioxide

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

กรรวี กอวณิชกุล, ณภัทร ณ พัทลุง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ธีรศักดิ์ ปั้นวิชัย

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมอ.วิทยานุสรณ์ สุราษฎร์ธานี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ศึกษาการสกัดน้ำมันที่มีปริมาณกรดลอริก มีสูตรโมเลกุล C12H24O2 เป็นกรดไขมันสายกลางที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้สามารถพบได้จากมะพร้าวและเมล็ดในปาล์ม กรดไขมันลอริกมีฤทธิ์ต้านการเจริญของจุลินทรีย์เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ช่วยในเรื่องการเผาผลาญ การสกัดน้ำมันที่มีปริมาณกรดลอริกจากมะพร้าวและเมล็ดในปาล์มด้วยเทคนิค Supercritical carbon dioxide (SCCO2) เป็นเทคโนโลยีสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทันสมัย สามารถเลือกในการสกัดองค์ประกอบของสาร เพิ่มมูลค่า และเป็นวิธีการที่ป้องกันการเสื่อมเสียขององค์ประกอบสารได้ดี ศึกษาการสกัดน้ำมันที่มีปริมาณกรดลอริกจากมะพร้าวและเมล็ดในปาล์มด้วยเทคนิค SCCO2 สภาวะอุณหภูมิ 35-100 องศาเซลเซียส ความดัน 74 บาร์ ระยะเวลา 30 นาที วิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ และองค์ประกอบของกรดไขมันด้วยเทคนิค Gas chromatography เลือกอุณภูมิที่เหมาะสมจาก เปอร์เซ็นต์ Yield และปริมาณกรดไขมันลอริกสูงที่สุดศึกษาสภาวะความดัน 74-150 บาร์ ระยะเวลา 30 นาที วิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ และองค์ประกอบของกรดไขมันด้วยเทคนิค Gas chromatography เลือกอุณภูมิที่และความดันเหมาะสมจาก เปอร์เซ็นต์ Yield และปริมาณกรดไขมันลอริกสูงที่สุดศึกษาระยะเวลาที่ 30, 60 และ 90 นาที เลือกสภาวะที่เหมาะสมวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ และองค์ประกอบของกรดไขมันด้วยเทคนิค Gas chromatography นำสภาวะที่เหมาะสมขยายผลต่อยอดผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในเชิงพาณิชย์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และผลักดันอุตสาหกรรม Olochemical ในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบนในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ โดยใช้เศรษฐกิจของภาคใต้เป็นวัตถุดับหลักในการผลิต