การศึกษาประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในสกุล Clostridium. Enterococcus ที่เป็นสาเหตุให้เนื้อหมูเน่าเสียโดยใช้สารสกัดจากพืชที่มีแทนนินสูงและแปรรูปเป็นผงสกัด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สวิตตา จงใจ, วิชญาดา อ่อนแก้ว, วรัชญา ขวัญนิมิตร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ศิริขวัญ หนูพุทธิ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เนื้อหมูจัดได้ว่าเป็นเนื้อสัตว์ที่คนไทยนิยมรับประทานกันมากที่สุด สามารถนำมาประกอบอาหารหรือแปรรูปได้หลากหลาย มีประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร เนื้อหมูที่ดีควรจะต้องไม่มีเมือก ไม่ช้ำ เขียวคล้ำหรือแดงคล้ำ สีของเนื้อควรมีสีชมพูอ่อน ไม่แห้งกระด้าง แต่เมื่อเน่าจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว และจะเริ่มออกอมเขียวจางๆ มีเมือกบริเวณเนื้อ
ปัญหาที่พบกันบ่อยครั้งในการนำเนื้อหมูมาประกอบอาหารนั้นคือการที่เนื้อหมูเน่าเสียเร็ว การจัดเก็บที่ไม่ได้มาตรฐานจะเป็นส่วนช่วยในการเพิ่มจำนวนแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการทำให้เนื้อหมูเน่าเสีย ซึ่งแบคทีเรียประเภทนี้มักพบได้ตามธรรมชาติ มักจะมีเอนไซม์ที่สามารถย่อยโปรตีนได้ เพราะฉะนั้นแล้วหากต้องการที่จะยืดอายุเนื้อหมู ควรต้องหาวิธีการที่จะสามารถรักษาเนื้อหมูไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อที่จะคงสภาพเนื้อหมูเอาไว้เมื่อต้องเก็บไว้เป็นเวลานาน
แบคทีเรียในเนื้อหมูเป็นประเภทที่ไม่ต้องการอากาศและแบคทีเรียที่เจริญได้ทั้งที่มี facultative anaerobe โดยแบคทีเรียในสกุล Clostridium. Enterococcus ตามที่กล่าวมาทั้งหมด นั่นเป็นเหตุให้เหล่าผู้ประกอบการจึงพยายามสรรหาวิธีการที่จะสามารถยืดอายุการเก็บรักษาเนื้อหมูเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นการแช่ตู้เย็นในช่องแช่แข็ง แต่หากไม่รู้วิธีเก็บให้ดี ก็อาจทำให้เนื้อหมูเสียคุณภาพได้ ทางคณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะหาวิธีการในการยืดอายุการเก็บรักษาเนื้อหมู เนื่องจากการสำรวจจึงทำให้ได้พบว่าสารแทนนินมีฤทธิ์ที่จะสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตที่เป็นสาเหตุให้เนื้อหมูเน่าเสียได้จากการยับยั้งแบคทีเรียที่ซึ่งเป็นสาเหตุให้เนื้อหมูเน่าเสีย (นายวรพจน์ จันทร์แสนตอ)
ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะสร้างสารสกัดแทนนินเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุให้เนื้อหมูเน่าเสียและแปรรูปสารสกัดให้อยู่ในรูปแบบผงเพื่อเก็บรักษาไว้ได้ง่ายและใช้ได้นานยิ่งขึ้น