การผลิตเส้นใยสำหรับงานจักสานจากกาบปาล์ม
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อรทัย คำแดง, อโรชา ไกลถิ่น, ภวัต มูลเมืองคำ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
คุณากร จิตตางกูร
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานของไทย ถือเป็นสินค้าที่นำรายได้มาสู่ครัวเรือน ที่พบได้ในทุกท้องถิ่นในประเทศไทย ปัจจุบันมีการพัฒนาเพื่อเป็นสินค้าระดับพรีเมียมเป็นจำนวนมากโดยอาศัยฝีมือในการประดิษฐ์ร่วมกับการออกแบบให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย และรูปลักษณ์ที่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค การพัฒนาคุณภาพของวัสดุสำหรับการผลิตถือเป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้สินค้าเหล่านี้ รวมทั้งสามารถขยายตลาดได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
วัสดุที่ใช้ในงานจักสานในปัจจุบันมีหลายชนิดได้แก่ ป่านศรนารายณ์ ข้อดีคือ นิยมใช้ในงาน
อุตสาหกรรม ทำเชือกในการเกษตร การเดินเรือ เชือกห่อของ ทำเสื่อ กระเป๋าถือ ทำหมวก ส่วนข้อเสียคือ เส้นใยแข็ง ,ไผ่ ข้อดีคือ ระบายอากาศได้ดี มีผิวสัมผัสนุ่ม มีความแข็งแรงและยืดหยุ่น ส่วนข้อเสียคือ มีเสี้ยนลำต้นแข็ง ใช้เวลาในการแช่น้ำก่อนจะนำมาใช้งาน ,ลิเภา หรือย่านลิเภา ข้อดีคือ ลำต้นเหนียว นิยมนำมาใช้ในงานหัตกรรม ทำเครื่องจักสาน เช่น กระเป๋า ภาชนะใส่ของ กำไล สร้อย ข้อเสียคือ เป็นพืชเฉพาะถิ่น จากการทดลองเบื้องต้นพบว่าเส้นใยจากกาบปาล์มมีลักษณะเป็นเส้นใยที่ยาว มีความเหนียว และมีความแข็งแรง แต่มีข้อเสีย คือ เส้นใยมักจะพันกันและจะมีความหยาบเมื่อเส้นใยแห้ง ทางผู้จัดทำสนใจเส้นใยจากกาบปาล์มน้ำมัน ซึ่งเกษตรกรจะตัดทิ้งและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ จึงคาดว่าน่าจะสามารถพัฒนาคุณภาพให้เป็นเส้นใยสำหรับจักสานที่มีคุณภาพต่อไป
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพของเส้นใยจากกาบปาล์มน้ำมัน
เพื่อศึกษากระบวนการที่เหมาะสมในการทำเส้นใยจักสานจากกาบปาล์มน้ำมัน