การศึกษาประสิทธิภาพของจุลินทรีย์จากข้าววัชพืชที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของผักกวางตุ้ง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ตติยา วงษ์ประเสริฐ, นิธิศธร เยก้อนทอง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ทวีศักดิ์ เปี่ยมทัพ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของหัวเชื้อจุลินทรีย์จากข้าววัชพืชต่อการเจริญเติบโตของผักกวางตุ้ง โดยเปรียบเทียบกับสารปลูกด้วยสารอาหารสำเร็จ (A B) ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไปกับปลูกผักสารอาหารสำเร็จ (A B) ร่วมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์จากเศษผักและผลไม้ ในอัตราส่วน A : B : น้ำ 3 : 3 : 1,000 (โดยปริมาตร) และปลูกด้วยสารอาหารสำเร็จ (A B) ร่วมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์จากข้าววัชพืช ในอัตราส่วน A : B : น้ำ 3 : 3 : 1,000 (โดยปริมาตร) และผลของหัวเชื้อจุลินทรีย์จากข้าววัชพืช เศษผักและผลไม้ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของผักกวางตุ้ง (ค่าเฉลี่ย) และเมื่อนำไปใช้ปลูกเป็นต้นกวางตุ้งเป็นเวลา 35 วัน ผักกวางตุ้งที่ปลูกด้วยปลูกด้วยสารอาหารสำเร็จ (A B) ร่วมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์จากข้าววัชพืช ช่วยเร่งการเจริญเติบโตได้ดีที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยจำนวนใบมากที่สุด 5.33 ใบต่อต้น ค่าเฉลี่ยความยาวใบมากที่สุด 16.59 เซนติเมตร และน้ำหนักสดเฉลี่ยมากที่สุด 14.27 กรัม และจากผลการวิเคราะห์ค่าความเป็นกรด – ด่าง ค่าการ นำไฟฟ้า พบว่าหัวเชื้อจุลินทรีย์จากข้าววัชพืชไม่เจือจางมีค่าความเป็นกรด – ด่าง 4.7 และค่าการนำไฟฟ้า 2.15 ds/m แล้วเมื่อทดลองปลูกผักกวางตุ้งด้วยสารอาหารสำเร็จ (AB) ร่วมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์จากข้าววัชพืช พบว่า มีค่าความเป็นกรด – ด่าง 7.48 และค่าการนำไฟฟ้า 1.54 ds/m และระดับ N P K ซึ่งทั้งหมดมีในปริมาณ ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของผักกวางตุ้ง