การศึกษาของการทำงานแหล่งกำเนิดไฟฟ้านาโนแบบ Triboeletric effect เพื่อพัฒนาวัสดุทาง Triboeletric ในการเก็บเกี่ยวพลังงานเชิงกล

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

หิรัญนนท์ มิลินคณาพัฒน์, ชนัญญา สุนทรเพราะ, นนทพัทธ์ ภักดีสาร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ชัยวัฒน์ ประสานวงศ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนปัญจดี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาหลักการทำงานของแหล่งกำเนิดไฟฟ้านาโนแบบทริโบอิเล็กทริก (Triboelectric nanogenerator ; TENG) จากปรากฏการ Contract Electrification และ Electrostatic Induction ภายใต้เงื่อนไขการศึกษา ขนาดของแผ่นวัสดุ, พื้นที่ผิวของวัสดุ และ ค่าคงที่ไดอิเล็กทริก ที่มีผลต่อผลลัพธ์ทางไฟฟ้าของ TENG โดยเลือกใช้วัสดุที่พบได้ในชีวิตประจำวันได้แก่ แผ่นพลาสติกใส, ผ้าไหม, แผ่นอลูมิเนียม, แผ่นทองแดง, แผ่น PVC, และ แผ่นยางธรรมชาติ โดยทำการทดลองกับวัสดุในข้างต้น ที่มีขนาด 1, 4, 9, 16 และ 25 ตารางเซนติเมตร ตามลำดับ จากนั้นทำการศึกษาผลลัพธ์ทางไฟฟ้า ซึ่งได้แก่ ความต่างศักย์, กระแส, และความหนาแน่นของกำลังไฟฟ้า ที่ความถี่ 5 รอบต่อวินาที โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ผลจากกล้องจุลทัศน์อิเล็กตรอน (scanning electron microscope : SEM) และเครื่องวัดค่าคงที่ไดอิเล็กทริก เพื่อศึกษาพื้นที่ผิวเชิงลึก และค่าคงที่ไดอิเล็กทริกของวัสดุแต่ละชนิด จากนั้นนำคู่วัสดุที่ให้ผลลัพธ์ทางไฟฟ้าที่ดีที่สุดมาประดิษฐ์เป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าเพื่อใช้สร้างเป็นเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว