การทดสอบหาและลดปริมาณตะกั่วในน้ำด้วยวิธีทางชีวภาพ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
เมวิริน เสย์, อรวี จิตจำรัสรัตน์, สุภาวดี อานทอง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุกัลยา วงค์ใหญ่
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การทดสอบหาและลดปริมาณตะกั่วในน้ำด้วยวิธีชีวภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบหาและลดปริมาณตะกั่วในน้ำด้วยวัสดุจากธรรมชาติ ตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ เกล็ดปลา และสาหร่ายไฟ ซึ่งจากการศึกษาโดยสำรวจแหล่งน้ำที่มี
การปนเปื้อนตะกั่วในพื้นที่ตำบลหนองแหน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา พบสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ ได้แก่ สาหร่ายไฟ แหน ผักตบชวา และปลานิล โดยผลการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและการทดสอบการปนเปื้อน
ตะกั่ว โดยทำปฏิกิริยากับโพแทสเซียมไอโอไดด์ พบว่า ผลการทดสอบการปนเปื้อนมีเพียงเกล็ดปลาและสาหร่ายไฟที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลังทำปฏิกิริยากับ KI ส่วนการศึกษาความสามารถของเกล็ดปลาในการเป็นชุดทดสอบ
หาปริมาณตะกั่วในน้ำมี 2 รูปแบบ คือ การแช่เกล็ดปลาในสารละลายตะกั่ว 1 ครั้ง และ 2 ครั้ง พบว่า การแช่เกล็ดปลาในสารละลายตะกั่ว 1 ครั้ง จะเห็นการเปลี่ยนแปลงหลังการทำปฏิกิริยากับ KI ในชุดทดลองที่ระดับความเข้มข้น 2800 ppm ขึ้นไป ส่วนผลการทดลองโดยการแช่เกล็ดปลาในน้ำสารละลายที่ระดับความเข้มข้นต่างกัน 2 ครั้ง คือ แช่ในน้ำเสียสังเคราะห์ 0.2 ppm ก่อนแช่ที่ระดับความเข้มข้นอื่นๆ พบว่า จะเห็นการเปลี่ยนแปลงหลังทำปฏิกิริยากับ KI ในชุดทดลองที่ระดับความเข้มข้น 1800 ppm ขึ้นไป ขณะที่ผลการบำบัดน้ำเสียสังเคราะห์ที่มีตะกั่วปนเปื้อนด้วยสาหร่ายไฟ
ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานเมื่อทดสอบด้วยชุดทดสอบจากเกล็ดปลา โดยมีรูปแบบการใช้งาน 2 วิธี คือ การแช่สาหร่ายไฟในน้ำเสียสังเคราะห์ที่ระดับความเข้มข้นต่าง ๆ ทันที พบว่า เมื่อระดับความเข้มข้นของตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์เพิ่มขึ้นระยะเวลาในการบำบัดจะนานขึ้น โดยที่ระดับความเข้มข้นสูงสุดที่ทำการทดลองคือ 50 ppm จะผ่านเกณฑ์มาตรฐานเมื่อทำการบำบัดเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนผลการทดลองโดยการแช่สาหร่ายไฟในน้ำเสียสังเคราะห์ที่ระดับความเข้มข้น
0.5 ppm ก่อนใช้ในการบำบัดน้ำเสียสังเคราะห์ที่ระดับความเข้มข้นต่าง ๆ จะสามารถบำบัดน้ำเสียสังเคราะห์ได้เร็วกว่าการใช้บำบัดทันที โดยที่ระดับความเข้มข้น 50 ppm จะผ่านเกณฑ์มาตรฐานเมื่อทำการบำบัดเป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ ขณะที่ผลกระทบของน้ำเสียสังเคราะห์ที่มีต่อสาหร่ายไฟ พบว่า การทดลองในวิธีการที่ 2 จะส่งผลให้สาหร่ายไฟสามารถทนต่อสารตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์ได้ดีกว่าการทดลองในรูปแบบที่ 1