การศึกษาปริมาณและเปรียบเทียบคุณภาพของเพคตินที่ได้จากการสกัดจากส้มโอ 3 สายพันธุ์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธาวิน เหล่าประสิทธิ์, ศุภณัฐ สุวรรณรัตน์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กุสุมา เชาวลิต
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบันถือว่าเป็นยุคที่อุตสาหกรรมเจริญอย่างมาก นั่นทำให้เกิดมลพิษจากการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมและพบว่ามีโรงงานมากมายที่ไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรการในกำจัดน้ำเสียที่ถูกต้อง จึงทำให้ในน้ำสียมีโลหะปนเปื้อนอยู่อย่างมาก โลหะหนักเป็นสารที่คงตัว ไม่สามารถสลายตัวในกระบวนการธรรมชาติ จึงมีบางส่วนตกตะกอนสะสมอยู่ในดินการสะสมโลหะหนักดังกล่าวจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับชั้นของห่วงโซ่อาหาร (bioaccumulation in tropic level) และหากมีปริมาณมากก็จะทำให้เกิดอันตรายต่อสัตว์น้ำนั้นๆ ตลอดจนผู้นำสัตว์น้ำนั้นไปเป็นอาหารด้วย
ส้มโอเป็นพืชตระกูลส้มเปลือกหนา เติบโตในเมืองเขตร้อน จังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในประเทศไทย คือ ชุมพร นครศรีธรรมราช เชียงใหม่ เชียงราย และนครปฐม โดยส้มโอมีหลากหลายสายพันธุ์ในประเทศไทยเช่น ขาวใหญ่ ขาวทองดี ทับทิมสยาม เป็นต้น เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่รสชาติดีอีกทั้งยังเป็นสินค้าส่งออกสำคัญทำให้มีปริมาณเปลือกส้มโอเหลืออย่างมาก
เพกตินถือเป็นพอลิแซคคาไรด์ชนิดหนึ่งโดยมีประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมอาหารหรือยาโดยจะทำให้การเป็นเจลและเพิ่มความข้นของอาหารหรือยา และมีการใช้ประโยชน์ของเพกตินด้านกำจัดโลหะหนักเช่นกัน โดยประเทศไทยนำเข้าเพคตินจำนวนมากและราคาค่อนข้างสูง
ผู้จัดทำเล็งเห็นปัญหาโลหะหนักที่ปนเปื้อนในน้ำจึงได้นำเปลือกส้มโอที่เหลือจากอุตสาหกรรมส่งออกของประเทศมาเพื่อสกัดเพคตินเพื่อใช้ในการดูดซับโลหะหนักในน้ำ โดยได้เลือกส้มโอสายพันธุ์ขาวใหญ่ ขาวทองดี และ และทับทิมสยามในการสกัดเพคตินจากเปลือก เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่นิยมบริโภคทำให้เหลือเปลือกจำนวนมาก โดยการจัดทำโครงงานจะทำการคัดเปลือกส้มโอทั้ง 3 สายพันธุ์และนำมาสกัดเพคตินเพื่อใช้ดูดซับ Pb(NO₃)₂ ซึ้งเป็นตัวแทนโลหะหนัก อีกทั้งยังเปรียบปริมาณเพคตินที่ได้จากส้มโอทั้ง 3 สายพันธุ์