การผลิตพลาสติกห่อผลชมพู่จากวุ้นของแบคทีเรีย Acetobacter xylinum ในการป้องกันแมลงวันผลไม้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ศิขรินธาร ใจมิภักดิ์, พิชญาภา รักชาติ, สุวิมล จินะปัญญา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุทัศน์ บุญเลิศ, รัศมี เพชรนาดี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ชมพู่เป็นผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยแหล่งปลูกที่สำคัญ ได้แก่ นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี และสมุทรสาคร ซึ่งปัญหาที่เกษตรกรพบคือ หนอนแมลงวันผลไม้เข้าเจาะกินทำลายผลชมพู่ทำให้ผลเกิดการเน่าเสียและร่วงจากต้น จึงส่งผลกระทบต่อคุณภาพและปริมาณผลผลิตชมพู่ที่จะออกสู่ท้องตลาด การศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งศึกษาการแก้ปัญหาหนอนแมลงวันผลไม้ที่เข้าทำลายผลชมพู่ โดยผลิตพลาสติกห่อผลชมพู่จากวุ้นที่เกิดจากแบคทีเรียชนิด Acetobacter xylinum สังเคราะห์ขึ้นในน้ำเสียหรือน้ำทิ้งจากอาคารบ้านเรือนหรืออุตสาหกรรม โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 การทดลอง ดังนี้ การทดลองที่ 1 ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตวุ้นของแบคทีเรียชนิด A. xylinum การทดลองที่ 2 ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตพลาสติกจากวุ้นของแบคทีเรียที่ผสมสารสกัดจากสมุนไพรในการไล่แมลง และการทดลองที่ 3 ศึกษาประสิทธิภาพของถุงห่อผลชมพู่จากวุ้นของแบคทีเรียต่อการป้องกันแมลงวันผลไม้ และลักษณะสรีรวิทยาของผลชมพู่