เครื่องตากปลาพลังงานแสงอาทิตย์แบบไม่ต้องกลับโดยใช้หลักการพาราโบลา
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
มินตรา หมื่นป้อม, จารุวรรณ อัปมาเย, กนกพล ขันชารี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พีรพงษ์ สิงห์มนัส
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันนี้ ชุมชนในอำเภอบางพลี อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ มีอาชีพเลี้ยงปลาสลิด เมื่อปลาสลิดโตได้ที่จะนำมาเป็นทำเป็นปลาเค็ม โดยตากปลาที่หมักเกลือแล้วไว้กลางแดด ถ้าตากไว้ 1 วัน ก็เรียกว่าปลาสลิดแดดเดียว ถ้าตาก 2 วัน ก็เรียกว่า สองแดด ปลาที่ตากไว้แดดเดียวจะมีเนื้อนุ่มกว่าอร่อยกว่าแต่จะมีน้ำหนักมากกว่าปลาหลายแดด ปลาสลิดเค็มที่บางบ่อ หรือบางพลีจะมีรสชาติอร่อยกว่าปลาที่อื่น จึงยังถูกขนานนามว่า"ปลาสลิดทอง"อีกด้วย
กระบวนการในการแปรรูปปลาสลิด ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาสลิดหอมบางบ่อ ตามปกติ คือ การตากปลาสลิดกลางแจ้งบนเฝือกไม้ เมื่อตากไปทุกๆ ครึ่งวัน จะต้องกลับปลา เพื่อให้ปลาอีกด้านหนึ่งได้รับแสงแดดอย่างทั่วกัน ทั้งนี้ จะต้องใช้เวลาถึง 2 วัน จึงจะได้ผลิตภัณฑ์ปลาสลิด หอมบางบ่อ ในกระบวนการนี้จะต้องใช้แรงงานจำนวนมาก และยังรวมไปถึงปัญหาในเรื่องของแมลงและสัตว์รบกวน เช่น แมลงวัน นกอีกา ฝุ่นละออง และปัญหาสภาพดินฟ้าอากาศ เช่น กรณีที่ฝนตก ทำให้ไม่สามารถตากปลาสลิดได้ เนื่องจากการตากปลาสลิดกลางแจ้ง ทางกลุ่มได้รับทราบปัญหาจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาสลิดหอมบางบ่อ ในด้านการขาด แรงงาน ในด้านแมลงและสัตว์รบกวน และปัญหาสภาพดินฟ้าอากาศ ทางกลุ่มจึงวิเคราะห์ปัญหา และ หาทางแก้ไขปัญหานั้น จึงได้คิดค้นและออกแบบ”เครื่องตากปลาพลังงานแสงอาทิตย์แบบไม่ต้องกลับโดยใช้หลักการพาราโบลา” มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานความร้อน และยังช่วยลดระยะเวลาในการตากปลาซึ่งเครื่องตากปลานี้ยังสามารถใช้เป็นเครื่องตากหมู กล้วย และอื่นๆ ได้อีกหลายทาง โดยเครื่องตากปลานี้ใช้ระบบการสะท้อนความร้อนรูปแบบพาราโบลาไปใต้ตัวปลา ทำให้ไม่ต้องกลับปลา รวมไปถึงเครื่องยังมีระบบถ่ายอากาศเพื่อไรความชื้นออกนอกตัวเครื่อง และผลผลิตที่ได้ยังปลอดภัย สะอาด จาก แมลง ฝุ่นละออง อีกด้วย
ดังนั้นเครื่องตากปลาพลังงานแสงอาทิตย์แบบไม่ต้องกลับหลักการพาราโบลาที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการแปรรูปปลาสลิดให้กับทางกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาสลิดหอมบางบ่อจะแก้ปัญหาการขาดแรงงาน ปัญหาแมลงและสัตว์รบกวน และ ปัญหาสภาพดินฟ้าอากาศได้ดี และยังสามารถพัฒนาให้ไปสู่ระดับนานาชาติ