ชุดสำหรับผู้ป่วยติดเตียงเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

นิพัท ตันติพุฒิกุล, จตุพล สุขวิเชียร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

กุศลิน ทิพย์มโนสิงห์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

จากสถิติพบว่า สถานการณ์การเกิดแผลกดทับในต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก สำหรับประเทศไทยพบอุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับร้อยละ 10.8-11.18 หรือคิดเป็นอัตราการเกิดแผลกดทับ 0.58-3.64 ต่อ 1,000 วันนอน มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) รายงานว่าปี 2565 ประเทศไทยจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ในปี 2574 จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด จะทำให้มีผู้สูงอายุ “กลุ่มผู้ป่วยติดเตียง” ประมาณ 3% หรือ 4 แสนคน

ผู้ป่วยติดเตียงเป็นผู้ป่วยจะช่วยเหลือตนเองได้น้อยหรืออาจไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลย จึงไม่อาจเลี่ยงที่จะต้องนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานานๆได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดแผลกดทับได้

โดยแผลกดทับเป็นการบาดเจ็บเฉพาะที่ของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง มักพบบริเวณปุ่มกระดูกหรือบริเวณที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์กดทับ อาจเกิดได้จากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นแรงกดจากน้ำหนักร่างกาย, การเสียดสีของผิวหนังกับเนื้อผ้า, แรงเฉือนและความชื้นต่างๆ หากละเลย หรือไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี ก็จะกลายเป็นเนื้อตายที่สามารถลุกลามเป็นบริเวณกว้างและลึกได้ในเวลาไม่นาน จนอาจทำให้สูญเสียอวัยวะ หรือติดเชื้อจนส่งผลให้การทำงานอวัยวะภายในล้มเหลว และเสียชีวิตได้ในที่สุด

ผู้จัดทำจึงได้เล็งเห็นถึงปัญหาและมีความสนใจที่จะจัดทำโครงงานเพื่อที่จะสร้างนวัตกรรม เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียง โดยออกแบบชุดผู้ป่วยที่มีคุณสมบัติในการลดการเสียดสีโดยใช้เนื้อผ้ามัสลิน, ใช้แถบแม่เหล็กแทนการติดระดุมทำให้สามารถสวมใส่ได้ง่าย, มีโมดูลวัดแรงกดทับ, บอร์ดESP8266เพื่อส่งข้อมูลของผู้ป่วยไปยังผู้ดูแล เพื่อที่จะได้ทำการเปลี่ยนท่าทางของผู้ป่วยซึ่งเป็นการป้องกันการเกิดแผลกดทับ