การพัฒนาโต๊ะพับอ่านหนังสือสำหรับผู้ที่มีอาการปวดเมื่อยตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย ในกลุ่มนักเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ภัณฑิลา บุญญศิริวัฒน์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ณรงค์ ปะระปิน
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี เป็นโรงเรียนประจำ นักเรียนทุกคนต้องอาศัยอยู่ในหอพักของโรงเรียน โดยลักษณะหอพักจะแบ่งเป็นห้อง ๆ ในห้องจะมีเด็กนักเรียนพักอยู่ตั้งแต่ 6 ถึง 10 คน และเฟอร์นิเจอร์ภายในห้องนอน มีเพียงตู้เสื้อผ้า และเตียง ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้เด็กนักเรียนมีพื้นที่ใช้สอยที่จำกัด ในการทำงาน และการทำกิจกรรมต่างๆ จึงมีการใช้โต๊ะพับอ่านหนังสือในการทำงานเป็นหลัก เนื่องจากมีน้ำหนักเบา พับเก็บและเคลื่อนย้ายสะดวก ซึ่งเมื่อมีการใช้งานไประยะเวลาหนึ่งทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อที่บริเวณคอ หัวไหล่ หลังส่วนล่าง กระดูกก้นกก และ ขา จากการสำรวจและใช้แบบสอบถามประเมินตนเอง AI (Abnormal Index) พบว่าค่าดัชนีในการผลการประเมิน อยู่ตั้งแต่ 2 ถึง 3 หรืออยู่ในช่วงตั้งแต่ต้องระมัดระวังเอาใจใส่ปัญหาอาการปวดเมื่อย ถึง เริ่มเป็นปัญหามาก และจากการประเมินโดยใช้ Body discomfort พบว่าบริเวณที่มีอาการปวดมากที่สุด คือบริเวณกระดูกก้นกบ คอหัวไหล่ และหลัง ตามลำดับ
จากรายงานการศึกษาพบว่าอาการปวดหลัง ปวดคอ ของเด็กนักเรียนและวัยรุ่น มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก ที่เกี่ยวข้องกับการนั่ง ระยะเวลาในการนั่ง อีกทั้งร้อยละ 23 ของเด็กจะประสบปัญหาปวดหลังจากการนั่ง (กุลยุทธ บุญเซ่ง, 2559) และจากรายงานของพรนิภา บริบูรณ์สุขศร และณัฐ จันท์ครบ (2555) พบว่าหากเรียนเป็นเวลานานในสภาวะไม่สบาย จะทำลายความสนใจในการเรียน และก่อให้เกิดความเมื่อยล้าที่จะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียน บางครั้งอาจก่อให้เกิดการปวด เมื่อยที่บริเวณต่างๆของร่างกาย ซึ่งการออกแบบผลิตภัณฑ์ สามารถใช้การศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคนและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อปรับสภาพของงานให้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงาน หรือการยศาสตร์ มาปรับใช้เพื่อลดอาการปวดเมื่อยของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ได้
การยศาสตร์ หรือ ergonomics นั้นสถาบันความปลอดภัยในการทำงานได้มีการให้คำจำกัดความว่า เป็นการศึกษาสภาพการทำงาน ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน เป็นการพิจารณาว่าสถานที่ทำงาน ได้มีการออกแบบหรือปรับปรุงให้มีความเหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานอย่างไร เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในการทำงาน และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ดังนั้นการยศาสตร์ จึงเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับหลายแขนงวิชาทั้งศาสตร์และศิลป์เพื่อใช้ในการจัดการในสถานที่ทำงานให้มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสมมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำงานและข้อจำกัดของมนุษย์ที่มีอยู่ เพื่อให้มีท่าทางการทำงานที่เหมาะสม ลดความเมื่อยล้า และการบาดเจ็บอัน (เนตรชนก เจริญสุข)
ในงานวิจัยครั้งนี้ผู้จัดทำจึงได้ทำการศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้โต๊ะพับอ่านหนังสือ และลักษณะของโต๊ะพับอ่านหนังสือ ที่สัมพันธ์กับอาการปวดที่เกิดขึ้นบริเวณต่างๆ ของร่างกาย มาพัฒนาโต๊ะพับอ่านหนังสือสำหรับผู้ที่มีอาการปวดเมื่อยตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย ในกลุ่มนักเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี เพื่อปรับท่านั่งให้เหมาะสมกับการทำงาน และ ลดอาการปวดเมื่อยที่จะลดประสิทธิภาพในการทำงานลง