การพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ เพื่อวัดระดับสภาวะครอบครัวในสังคม และเสนอคำแนะนำเพื่อปรับเปลี่ยนสภาวะครอบครัว
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อัญมณี จันทสุวรรณ, โสรัจจา สังข์แก้ว, เศรษฐศักดิ์ ทองพิจิตร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วีระยุทธิ์ นิลละออ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อ
ครอบครัวคือสถาบันแรกที่เป็นปัจจัยสำคัญในการหล่อหลอมและสร้างพื้นฐานชีวิตให้กับมนุษย์มีความสัมพันธ์ทางอารมณ์และจิตใจ ครอบครัวเป็นสถาบันที่แข็งแกร่งและบอบบางในเวลาเดียวกัน วัยรุ่นและเยาวชนไทยโทรปรึกษาโดยใช้บริการสายด่วน 1332 ร้อยละ 5.4 เป็นเรื่องครอบครัว โดยมูลเหตุจากความขัดแย้งในครอบครัว การโดนกดดันจากพ่อแม่ ความคิดที่แตกต่างอาจเนื่องมาจากช่องว่างระหว่างวัย และมีการแก้ปัญหาที่ผิด ส่งผลให้สมาชิกครอบครัวมีความห่างเหิน ต่างคนต่างอยู่ มีปฏิสัมพันธ์กันน้อย ไม่กล้าปรึกษาปัญหากับคนในครอบครัว ปัญหาจึงไม่ได้รับการแก้ไข สภาวะครอบครัวดั้งกล่าวอาจนำไปสู่การเป็น Toxic Family มีความรู้สึกครอบครัวไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัย มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม และมีความคิดด้านลบ
ผู้จัดทำโครงงานจึงเล็งเห็นความสำคัญของการรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัว การทำความเข้าใจในครอบครัวเพิ่มการสื่อสารลดระยะห่างความสัมพันธ์ จึงจัดทำ AI วัดระดับสภาวะครอบครัว ซึ่งแบ่งออกเป็นระดับที่1 ครอบครัวที่มีสภาวะระดับสูงมากคือครอบครัวที่สมบรูณ์ ระดับที่2 ครอบครัวที่มีสภาวะระดับปานกลางคือครอบครัวที่มีปัญหาไม่รุนแรงมาก ระดับที่3 ครอบครัวที่มีสภาวะระดับต่ำมากคือ ครอบครัวที่มีข้อบกพร่องมากที่สุด อ้างอิงจากแบบประเมินความเข้มแข็งของครอบครัวโดยสำนักงานกิจการสตรีและสถาบัน ครอบครัว (สค.) เมื่อ AI ทำการจัดระดับสภาวะของปัญหา พร้อมให้คำแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหา ซึ่งการเตรียมข้อมูลเพื่อจัดทำ AI นั้นอาศัยพื้นฐานแนวคิดเกี่ยวกับครอบครัว บำบัดทฤษฎีทางจิตสังคม ทฤษฎี Goldenberg & Golderberg 1980 และคำปรึกษาจากจิตแพทย์