การศึกษาอัตราส่วนข้าวฟ่าง ข้าวหอมมะลิ และแป้งสาลี ที่เหมาะสมต่อการขึ้นรูปช้อนที่สามารถรับประทานได้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธนภัทร ตันตระกูล, ศตวรรษพร ศรีวรสาร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุกัญญา กึ่งกลาง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิจัย เรื่อง “การศึกษาอัตราส่วนข้าวฟ่าง ข้าวหอมมะลิ และแป้งสาลีที่เหมาะสมต่อการขึ้นรูปช้อนที่สามารถรับประทานได้” เนื่องจากปัจจุบันปัญหาพลาสติกจากช้อนพลาสติกนั้นเพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวนมาก พวกเราจึงเล็งเห็นว่าถ้าสามารถสร้างช้อนที่สามารถทานช้อนได้หลังจากที่รับประทานอาหารเสร็จ จะเป็นการแก้ไขปัญหาใช้และทิ้งของช้อนพลาสติก เพราะช้อนพลาสติกนั้น หลังจากทิ้งไปแล้ว มีการย่อยสลายเป็นเวลานาน จึงอาจทำให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกสะสมเพิ่มมากขึ้น และอาจจะทำให้เกิดผลเสียได้ในอนาคต เราจึงสร้างชิ้นงานนี้เพื่อมาแก้ไขปัญหานี้โดยเฉพาะ โดยเราจะศึกษาอัตราส่วนที่แตกต่างกันต่อการขึ้นรูปช้อน เพื่อทดสอบด้านกายภาพ คือ การทนแรง การทนน้ำ และระยะเวลาของช้อนที่มีอัตราส่วนที่แตกต่างกันว่าเหมาะสมกับอาหารประเภทใด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภค