ศึกษาการผลิตเส้นด้ายจากแกนในต้นกก

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ชมพูนุท จิรกิตต์หิรัญ, เมราณี เนื่องชมภู, ฑิติยาพร ดรนาม

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

เพชรรัตน์ สิงห์นวน

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนกัลยาณวัตร

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของเส้นใยกก ศึกษาการสกัดเส้นใยที่เหมาะสม และเปรียบเทียบอัตราส่วนของกกผสมฝ้ายเพื่อหาคุณสมบัติที่เหมาะสมในการเป็นเส้นด้ายวิธีการวิจัย คือ ศึกษาลักษณะทางกายภาพของเส้นใยกกด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบสเตอริโอ การสกัดเส้นใยด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์มี 3 ระดับ ปริมาณ 20 40 และ 60 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร ตามลำดับ ปริมาณกกที่ใช้ คือ 100 กรัม วางแผนการทดลองด้วยการวิเคราะห์ทางกายภาพ เปรียบเทียบอัตราส่วนของกกผสมฝ้ายเพื่อหาคุณสมบัติที่เหมาะสมในการเป็นเส้นด้าย โดยแปรเป็น 4 ระดับ คือ 50:50 60:40 70:30 และ 80:20 แล้วทำการทดสอบเพื่อหาคุณสมบัติที่เหมาะสมในการเป็นเส้นด้าย ผลการวิจัยพบว่าสรุปได้ว่า การสกัดเส้นใยต้นกกที่เหมาะสมที่สุดคือการเติมสารโซเดียมไฮดรอกไซด์ ปริมาณ 40 กรัม เป็นเวลา 60 นาทีจะทำให้ได้เส้นใยที่มีความอ่อนนุ่ม และเส้นใยแยกออกจากกันได้ดี และสามารถผลิตเป็นเส้นด้ายโดยวิธีการปั่นด้วยมือได้โดยใช้อัตราส่วนกกผสมฝ้าย 50:50 จะได้เส้นด้ายที่มีขนาดเล็ก มีผิวสัมผัสปกติ ความพองของด้ายต่ำ และขนที่ยื่นออกมาจากด้ายมีปริมาณน้อยกว่าชุดการทดลองอื่นๆ แต่สามารถทนต่อแรงดึงได้มากที่สุด คือ 4.1 นิวตัน แสดงให้เห็นว่าแกนในต้นกกที่นำมาศึกษาสามารถสกัดเส้นใยนำมาพัฒนาเป็นเส้นด้ายได้