การศึกษาการสกัดน้ำมันจากพืท้องถิ่น
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กฤษณ์ สืบสา, ธิดารัตน์ วงศ์สุพรรณ์, วริศรา ทองบุดดา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พจนี สีมาฤทธิ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาการสกัดน้ำมันจากพืชท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการสกัดน้ำมันจากพืชท้องถิ่น 4 ชนิด โดยใช้วิธีการสกัด 4 วิธี เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณกรดไขมันที่เป็นองค์ประกอบของน้ำมันที่ได้จากการสกัด ตรวจสอบหมู่ฟังก์ชันที่เป็นโครงสร้างทางเคมีที่เป็นองค์ประกอบใน Triglyceride ที่อยู่ในน้ำมันที่ได้จากการสกัดและเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าแก่พืชท้องถิ่นส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์และปลูกเพิ่มเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต จะเห็นได้ว่าจากศึกษาการสกัดน้ำมันจากพืชท้องถิ่นทั้ง 4 ชนิด พบว่าปริมาณร้อยละความชื้นในเนื้อเมล็ดของพืชทั้ง 4 ชนิดเรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ เมล็ดพอก เมล็ดดาวอินคา เมล็ดละหุ่ง และเมล็ดกระบก ตามลำดับ และนำมาสกัดน้ำมันโดยใช้วิธีการสกัด 4 วิธีจะเห็นได้ว่าวิธีการสกัดที่ให้ปริมาณน้ำมันออกมามากที่สุดคือวิธีการสกัดแบบ Soxhlet รองลงมาคือ วิธี Maceration , Ultrasonic และ Reflux ตามลำดับ น้ำมันจากพืชทั้ง 4 ชนิดที่ได้จากการสกัดพบว่าน้ำมันจากเมล็ดพอก เมล็ดดาวอินคาและเมล็ดละหุ่งมีปริมาณกรดไขมันไม่อิ่มตัวเป็นองค์ประกอบอยู่มากจึงทำให้น้ำมันที่ได้เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง ส่วนน้ำมันเมล็ดกระบกจะมีปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวเป็นองค์ประกอบอยู่มากจึงทำให้น้ำมันที่ได้กลายเป็นไขที่อุณหภูมิห้อง เมื่อนำน้ำมันจากพืชท้องถิ่นทั้ง 4 ชนิดไปวิเคราะห์หาหมู่ฟังก์ชันที่เป็นโครงสร้างทางเคมีด้วยเทคนิค Infrared Spectroscopy (IR) หมู่ฟังก์ชันที่พบคือ C – H , C = O, C – O – C และ (CH2)n เป็นโครงสร้างทางเคมีที่เป็นองค์ประกอบใน Triglyceride เหมือนกันกับน้ำมันปาล์มและเมื่อนำน้ำมันทั้ง 4 ชนิดนี้ไปผลิตเป็นไบโอดีเซลและติดตามการเกิดปฏิกิริยาด้วยเทคนิค TLC จะได้ค่า Rf ที่ใกล้เคียงกันอยู่ในช่วง 0.70 – 0.73 ซึ่งถือว่าผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานเมื่อเทียบกับค่า Rf ของไบโอดีเซลมาตรฐานที่มีค่า Rf เท่ากับ 0.75 ไบโอดีเซลจากพืชท้องถิ่นทั้ง 4 ชนิดและไบโอดีเซลมาจรฐานมีค่าใกล้เคียงกัน ซึ่งแสดงว่าไบโอดีเซลจากพืชท้องถิ่นทั้ง 4 ชนิดสามารถใช้ได้กับเครื่องยนต์ดีเซลและที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการศึกษานี้คือเป็นการเพิ่มมูลค่าแก่พืชท้องถิ่นควรส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์และปลูกเพิ่มเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคตซึ่งน้ำมันจากพืชเหล่านี้สามารถนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้อีกมากมาย