การศึกษาการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันเมล็ดกระบกโดยใช้ CaO จากเปลือกไข่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
เลิศภพ ศุภษร, ทัศนียา สุริสาร, ชัยกร จำปารัตน์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พจนี สีมาฤทธิ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาการผลิตไบดีเซลจากน้ำมันเมล็ดกระบกโดยใช้แคลเซียมออกไซด์จากเปลือกไข่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการสกัดน้ำมันจากเมล็ดกระบกโดยการแช่ในสารละลายเฮกเซน เพื่อศึกษาวิธีการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันเมล็ดกระบกโดยใช้แคลเซียมออกไซด์จากเปลือกไข่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาและเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าแก่เมล็ดกระบกซึ่งเป็นพืชท้องถิ่น กระบกเนื้อในเมล็ดมีสีขาว รับประทานได้ มีรสหวานและมันชาวบ้านนิยมเก็บนำมาคั่วกินเล่นหรือที่ทางภาคอีสานเรียกว่าอัลมอนด์อีสาน กระบกเป็นพื้นที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกพื้นที่ของภาคอีสาน ทนแล้ง ทนฝนทางกระบกน่าจะมีน้ำมันเป็นองค์ประกอบ เนื่องจากเมื่อเรานำกระบกมารับประทานจะมีรสหวานมัน และเมื่อทานไปจะรู้สึกเหมือนมีไขติดที่เพดานปาก จึงน่าจะมีน้ำมันเป็นองค์ประกอบ น้ำมันที่ได้นี้น่าจะสามารถนำไปผลิตไบโอดีเซลได้ดี เพราะในปัจจุบันนี้หนึ่งในแหล่งพลังงานที่กำลังมีปัญหาอยู่ในขณะนี้คือน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันดีเซล เพราะน้ำมันประเภทนี้เป็นแหล่งพลังงานในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์หลักๆที่ใช้ในการขนส่ง การคมนาคม ภาคอุตสาหกรรม การประมงและการเกษตรดังนั้นหากน้ำมันดีเซลเกิดการขาดแคลนและมีราคาสูง จะส่งผลให้เกิดการชะงักของการเติบโตทางเศรษฐกิจรวมทั้งทำให้ราคาสินค้าต่างๆ สูงตามราคาน้ำมันไปด้วย โครงงานนี้จึงมีความสนใจนำเนื้อในเมล็ดกระบกมาสกัดน้ำมันและวิเคราะห์ปริมาณกรดไขมันที่เป็นองค์ประกอบในน้ำมันกระบกและนำน้ำมันเมล็ดกระบกที่สกัดได้ไปผลิตเป็นไบโอดีเซล โดยใช้อัตราส่วนในการทำปฏิกิริยาที่เหมาะสมคือ น้ำมันเมล็ดกระบก : เมทานอล : ตัวเร่งปฏิกิริยา (CaO) จากเปลือกไข่ เป็น 100 ml : 65.64 ml : 4.577 g เวลาในการทำปฏิกิริยาที่เหมาะสม 5 ชั่วโมง เมื่อนำไปทดสอบการติดตามการเกิดไบโอดีเซลโดยใช้เทคนิค TLC และนำไปหาค่า Rf ได้เท่ากับ 0.73 จากนั้นนำไบโอดีเซลที่ได้ไปวัดค่าความหนืดโดยใช้ Oswald viscometer (เครื่องวัดความหนืดแบบไหลผ่านท่อ) มีค่าความหนืดเท่ากับ 2.77 cSt/s ซึ่งผ่านตามมาตรฐานกรมธุรกิจพลังงาน และที่สำคัญอีกประการไบโอดีเซลจากน้ำมันเมล็ดกระบกถือเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าแก่เมล็ดกระบกซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นและช่วยอนุรักษ์การใช้ประโยชน์พืชกระบกให้อยู่คู่สังคมไทยต่อไป