การป้องกันหนอนใยผักโดยใช้สารสกัดจากสะเดาช้างและหางไหลขาว
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ศุภางค์ อึ้งชัยภูมิ, ชญานิศา คงมงคล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ทวีศักดิ์ เปี่ยมทัพ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
กะหล่ำเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันเราพบว่ามีศัตรูพืชชนิดหนึ่งที่กัดกินและส่งผลให้กะหล่ำเกิดความเสียหายและไม่สามารถขายส่งออกเป็นพืชเศรษฐกิจได้ ศัตรูพืชนั้นคือ หนอนใยผัก หนอนใยผักจะกัดกินใบผักให้เป็นรูหรือกัดกินผิวใบด้านล่างเหลือแต่เยื่อบางๆ ทางด้านบนของใบ แบ่งการเจริญเติบโตเป็น4ระยะ คือไข่ หนอน ดักแด้ และผีเสื้อ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการควบคุมโดยสารเคมี ซึ่งพบว่าเมื่อใช้สารเคมีสังเคราะห์ในการกำจัดจะทำให้แมลงเกิดการดื้อยา เกิดการระบาดของแมลงศัตรูชนิดใหม่ เกิดการตกค้างของสารเคมีในสิ่งแวดล้อม และเป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ในปัจจุบันสะเดาเป็นพืชที่ได้รับความสนใจมากในแง่ของการกำจัดแมลง ซึ่งในประเทศไทย มีอยู่ 3 ชนิด คือ สะเดาไทย สะเดาช้าง และสะเดาอินเดีย โดยสะเดามีสารAzadirachtin ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ในการฆ่าแมลงโดยจะส่งผลต่อการสร้างฮอร์โมนของแมลง และพืชอีกชนิดคือ หางไหล ซึ่งมีสารโรติโนน สารโรติโนนเป็นสารฆ่าแมลงที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของระบบหายใจของแมลง
เราจึงต้องการศึกษาหาว่าสารสกัดที่ได้จากสะเดาและหางไหลจะส่งผลในการยับยั้งการเจริญเติบโตของหนอนใยพืชในแต่ละช่วงระยะการเจริญเติบโตอย่างไร เพื่อเป็นการแก้ปัญหาทางการเกษตรนี้