เปรียบเทียบประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระจากถั่วแดง ถั่วดำและถั่วเหลืองในตัวทำละลายเอทานอล
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ลัลน์ญดา จิตรา, ชำนาญวิทย์ ขุนอินทร์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ปาณิสรา ไชยรักษ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ถั่วเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ มีโปรตีนสูง ช่วยลดคอเรสเตอรอล มีไขมันดี มีใยอาหารสูง
เมื่อรับประทานทำให้อิ่มท้อง ช่วยดักจับไขมันและช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติอีกทั้งยังมีสารต่างๆ เช่น ฟินอลิก
ฟลาโวนอยด์ ไอโซฟลาโวน ฯลฯ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระมีหน้าที่ยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น
ซึ่งปฏิกิริยาออกซิเดชั่น พบได้ตามธรรมชาติรวมถึงในร่างกาย เช่น จากการย่อย การรับมลพิษทางอากาศหรือ
แม้แต่การหายใจ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การเกิดโรค ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต การมีความรู้เกี่ยวกับ
ชนิดของถั่วที่มีคุณค่าทางอาหารสูงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคที่สูงวัย เนื่องจากปัญหาความเสื่อมถอยของร่างกาย ดังนั้นผู้จัดทำโครงงานจึงมีความสนใจศึกษาประสิทธิภาพของถั่วทั้ง 3 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้น เพราะต้องการเผยแพร่ความรู้และเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ในปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่หันมาสนใจทางด้านสุขภาพกันมากขึ้นซึ่งถั่วเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่หันมาให้
ความสนใจ เพราะถั่วเป็นพืชที่หาได้ง่ายและราคาถูก ประกอบอาหารได้หลายรูปแบบ และมีสารต้านอนุมูลอิสระ
ผู้จัดทำโครงงานจึงได้ศึกษาความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระจากถั่ว 3 ชนิด ได้แก่ ถั่วแดง ถั่วดำ และถั่วเหลือง
โดยใช้ตัวทำละลายคือ เอทานอล 95% จากการศึกษาฤทธิ์หรือความสามารถในการต้านสารอนุมูลอิสระจากสารสกัดถั่วเหลือง ถั่วแดงและถั่วดำเป็นตัวทำละลาย และใช้เอทานอลเป็นสารละลายและการตรวจสอบจากวิธี DPPH assay และนำค่าการดูดกลืนแสง (Absorptio) มาคำนวณเป็นร้อยละในการยับยั้งสารอนุมูลอิสระ