การศึกษาประสิทธิภาพของสาหร่ายข้าวเหนียวในการกำจัดลูกน้ำยุง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธิติพงศ์ ศรีปัญญา, เจษฎาภรณ์ รัตนะ, สรวิชญ์ สกุลปีบ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กิริยา ทิพมาตย์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานการศึกษา การศึกษาประสิทธิภาพของสาร่ายข้าวเหนียวในการกำจัดลูกน้ำยุง มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อสำรวจชนิดของลูกน้ำยุงในบริเวณโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และบริเวณใกล้เคียง2. เพื่อศึกษาสภาพน้ำที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของลูกน้ำยุง และ สาหร่ายข้าวเหนียว
เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้สาหร่ายข้าวเหนียวในการลดปริมาณของประชาการลูกน้ำยุง โดยมีวิธีการดำเนินงานดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนการสำรวจชนิดของลูกน้ำยุง
1.1 ออกสำรวจแหล่งน้ำตามหอพัก ทั้งหมด 4 แห่ง และบริเวณโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1.2 นำลูกน้ำยุงที่สำรวจได้มาวิเคราะห์ว่าเป็นลูกน้ำยุงชนิดไหน พร้อมบันทึกผลลงตาราง
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนตรวจสอบสภาพน้ำที่มีผลต่อลูกน้ำยุง และ สาหร่ายข้าวเหนียว
2.1 การศึกษาสภาพน้ำที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของลูกน้ำยุง
2.1.1 นำลูกน้ำยุงมาทดลองกับน้ำทั้งหมด 4 แหล่ง ในห้องทดลอง คือ
น้ำประปา
น้ำฝน
น้ำจากคลองหลังโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
น้ำที่ได้จากการเลี้ยงลูกน้ำยุง
2.1.2 โดยนำน้ำแต่ละแหล่งมาทำการทดลองด้วยกัน 3 ครั้ง คือ
1.นำน้ำแต่ละแหล่งลงในบีกเกอร์ 1 แหล่ง ต่อ 3 บีกเกอร์
2.นำลูกน้ำยุงลงในบีกเกอร์ แต่ละบักเกอร์ใส่ลูกน้ำยุงจำนวน 10 ตัว ในทุกๆบีกเกอร์
3.สังเกตการเปลี่ยนแปลงของลูกน้ำยุง ในทุกๆ วัน อังคาร และ วันศุกร์ ของแต่ละสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ พร้อมบันทึกผลลงตาราง
2.2 การศึกษาสภาพน้ำที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายข้าวเหนียว
2.2.1 นำสาหร่ายข้าวเหนียวมาทดลองกับน้ำทั้งหมด 4 แหล่งในห้องทดลอง คือ
น้ำประปา
น้ำฝน
น้ำจากคลองหลังโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
น้ำจากแหล่งที่เก็บสาหร่ายข้าวเหนียว
2.2.2 นำน้ำแต่ละแหล่งมาทำการทดลองด้วยกัน 3 ครั้ง คือ
1.นำน้ำแต่ละแหล่งลงในบีกเกอร์ 1 แหล่ง ต่อ 3 บีกเกอร์ ปริมาณ 250 มิลลิลิตร
2.นำสาหร่ายข้าวเหนียวขนาด 5 เซนติเมตร ลงในบีกเกอร์ทั้งหมด
3.สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสาหร่ายข้าวเหนียว ในทุกๆ วัน อังคาร และ วันศุกร์ ของแต่ละสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ พร้อมบันทึกผลลงตาราง
2.3 การศึกษาประสิทธิสภาพน้ำที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายข้าวเหนียว และ ลูกน้ำยุง
2.3.1.นำน้ำทั้ง 4 แหล่ง มาวัดค่า pH , DO ก่อนและหลังนำไปทดลองลูกน้ำยุง
และ สาหร่ายข้าวเหนียว แล้วบันทึกผลลงตาราง
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนการวัดประสิทธิภาพของสาหร่ายข้าวเหนียวในการลดปริมาณของประชาการลูกน้ำยุง
3.1 นำน้ำฝน ปริมาณ 250 มิลลิลิตรลงในบีกเกอร์
3.2 นำลูกน้ำยุงจำนวน 10 ตัวใส่ลงในบีกเกอร์ 4 บีกเกอร์ และนำสาหร่ายข้าวเหนียว
ขนาด 5 เซนติเมตร ลงไป 3 บีกเกอร์
3.3 จับเวลาในการนับจำนวนลูกน้ำยุง ดังนี้
15 , 30 , 50 นาที แล้วบันทึกผลการทดลองลงตาราง
ขั้นตอนที่ 4 ทดลองกับแหล่งน้ำในธรรมชาติ ในบริเวณโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อหาประสิทธิภาพของสาหร่ายข้าวเหนียวในการกำจัดลูกน้ำยุง