การศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับเสียงและต้านทานการลามไฟของวัสดุคอมโพสิตจากฟางข้าวร่วมกับเส้นใยมะพร้าว โดยมีน้ำยางพาราเป็นตัวประสาน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ภคพล เตชะรุจิรานนท์, จิรภัทร บุญอนันธนสาร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ศุภาวรรณ ห่วงช้าง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ประเทศไทยได้มีการพัฒนาคุณภาพวัสดุที่ใช้ทำแผ่นผนังดูดซับเสียง และในภาคเอกชนต้องการจะพัฒนาฉนวนป้องกันเสียงที่มีราคาถูกเพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยให้ความสนใจแผ่นบุผนังจากยางธรรมชาติที่สามารถดัดโค้งกับผนังที่มีพื้นผิวลักษณะต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันก็มีบ้างแต่ยังยังไม่มีประสิทธิภาพมากเท่าใดนัก และเนื่องด้วยประเทศไทยประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรมาก ส่งผลให้เกิดวัสดุเหลือทิ้งจากการแปรรูปจำนวนมาก และวัสดุเหลือทิ้งบางชนิดนี้มีลักษณะทางกายภาพใกล้เคียงกับวัสดุสังเคราะห์ที่เป็นส่วนผสมของแผ่นดูดซับเสียงในท้องตลาด ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ช่วยลดปัญหาและก่อให้เกิดประโยชน์ในเรื่องนี้ได้ คือ การใช้วัสดุทดแทนจากธรรมชาติที่เหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้เป็นวัสดุทดแทน โดยฟางข้าวมีเซลลูโลสซึ่งมีโครงสร้างที่ยึดติดกันแน่น มีความเหนียวของเส้นใยสูง มีความทนทานและมีความพรุน นอกจากฟางข้าวก็ยังมีเส้นใยมะพร้าวที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งเช่นกัน เส้นใยมะพร้าวที่มีลักษณะเฉพาะทางธรรมชาติที่สามารถกันเสียงและความร้อน น้ำหนักเบา ทนต่อแรงดัดและแรงดึง ไม่ก่อให้เกิดสารพิษในการใช้งานและยังมีต้นทุนการผลิตต่ำ อีกทั้งยังเส้นใยมะพร้าวยังมีคุณสมบัติในการทนต่อความชื้นและการทำลายของจุลินทรีย์และเชื้อราได้ดี จากที่กล่าวมาข้างต้น มีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้ นำฟางข้าวเเละใยมะพร้าวมาผสมกันด้วยอัตราส่วนต่าง ๆ ดังนี้ 80 : 20, 60 : 40, 40 : 60 และ 80 : 20 จากนั้นเติมน้ำยางพาราเป็นตัวประสานในเเม่พิมพ์ นำเข้าเตาอบ จากนั้นนำชิ้นงานทุกอัตราส่วนมาทดสอบการขึ้นรูป ถ้าขึ้นรูปได้ก็จะทำการลดปริมาณน้ำยางพาราเพื่อเป็นการลดต้นทุน เเล้วนำไปทดสอบประสิทธิภาพการดูดซับเสียงโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับเสียง(NRC) เเละหาการต้านทานการลามไฟตามมาตรฐาน ASTM D 635-98 จากนั้นนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกับวัสดุที่นิยมใช้กันในท้องตลาด ได้เเก่ เเผ่นยิปซัมบอร์ดเเละเเผ่นอะคูสติกบอร์ด เเละวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป็นวัสดุทางเลือกในท้องตลาดต่อไป