บรรจุภัณฑ์ผงปรุงรสบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกินได้

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ธนภรณ์ ตันเจริญ, ปัณณพร ทองรัศมี, แสนรักษ์ นิมิตหลิวพานิชย์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฏฐนันท์ บุญเสมอ, ธรรมรงค์ศักดิ์ ราชเดิม

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

จำนวนพลาสติกที่ใช้ในประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆในแต่ละปี เนื่องจากมีการนำพลาสติกไปใช้ในกิจกรรมต่างๆไม่ว่าจะเป็นการใส่อาหาร เครื่องดื่มต่างๆซึ่งขยะจากพลาสติกเหล่านี้ก่อให้เกิดมลภาวะ สำหรับผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่มีการใช้พลาสติกเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นซองใส่มาม่า ซองใส่เครื่องปรุงรส ซึ่งเหล่านี้ทำมาจากพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ จากข้อมูลนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา เปรียบเทียบ การนำกล้วยมาทำเป็นแป้งสำหรับนำมาขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์มเพื่อใช้ในการบรรจุเครื่องปรุงรสในมาม่า โดยนำกล้วยน้ำว้าดิบมาทำเป็นแป้งดัดแปร แล้วนำมาขึ้นรูปโดยทำในรูปแบบแผ่นฟิล์ม โดยการนำแป้งดัดแปรทำในรูปของสารละลายโดยอัตราส่วนสารละลายแป้งต่อกลีเซอรอล คือ 100 : 0 , 75 : 25 , 70 : 30 , 60 : 40 และ 50 : 50 และปรับค่า pH โดย NaOH เท่ากับ 9 จากนั้นสารละลายไปปั่นเหวี่ยงแล้วนำเฉพาะส่วนใสมาขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์ม และจะใช้กระจกทนความร้อนเป็นแม่พิมพ์ทำแผ่นฟิล์มโดยขนาดของพิมพ์ที่ใช้คือ แผ่นล่าง 14*14 cm แผ่นบน ตัดตรงกลาง 10*10 cm เข้าอบโดยใช้ Hot air oven ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 18 ชั่วโมง จากนั้นศึกษาประสิทธิภาพโดยการวัดความหนา ความสามารถในการละลาย ความต้านทานน้ำมัน ความสามารถในการย่อยสลาย และความยืดหยุ่น