ถุงเพาะชำไบโอพลาสติก

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

สมิทธ์ พงศาสริกุล, ภูริภัทร ธนชัยสินวงศ์, ปิยังกูร พุ่มจันทร์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฏฐนันท์ บุญเสมอ, ธรรมรงค์ศักดิ์ ราชเดิม

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในปัจจุบันมีแนวคิดในการอนุรักษ์ทรัพยากรต่างๆมากมาย เช่น การรณรงค์ในการใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การนำกระดาษกลับมาใช้ใหม่เพื่อลดการตัดต้นไม้ และที่เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไปและมีการปฏิบัติกิจกรรมนี้อย่างแพร่หลาย คือ การปลูกป่าทดแทนซึ่งนับว่าเป็นเรื่องดี แต่การปลูกป่าทดแทนนั้นต้องมีต้นกล้าพืชในการเพาะปลูก และสิ่งที่มาพร้อมกับต้นกล้าของพืชก็คือถุงเพาะชำซึ่งเป็นพลาสติก และใช้เวลาในการย่อยสลายนาน และในแต่ละกิจกรรมการปลูกป่าจะมีการทิ้งถุงเพาะชำเป็นจำนวนมากและกลายเป็นขยะ ซึ่งส่วนมากก็จะนำไปฝังลงดิน ไม่ก็ทำการเผาเพื่อทำลาย แต่วิธีการเหล่านั้นก็จะก่อให้เกิดมลภาวะทางดิน และทางอากาศ ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีหลายบริษัทพยายามคิดค้นไบโอพลาสติกมาผลิตเป็นถุงเพาะชำ แต่ก็ยังมีเม็ดพลาสติกเป็นส่วนประกอบซึ่งไม่สามารถย่อยสลายได้อย่างเต็มที่ ทางผู้จัดทำจึงหาวิธีที่สามารถทำให้ถุงเพาะชำย่อยสลายได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังมีสารอาหารที่ต้นกล้าพืชสามารถดูดซึมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ นั่นก็คือ ไนโตรเจน ซึ่งมาจากไหมของข้าวโพดที่ดูดซึมมาจากไร่ที่ปลูกมาเก็บสะสมไว้ในราก โดยการนำไปผสมกับกากกาแฟ เม็ดแมงลัก ยางพาราและกลีเซอรอลเพื่อเป็นตัวช่วยในการขึ้นรูปและยางพารายังมีส่วนช่วยในการเคลือบผิวของถุงเพาะชำ ทั้งนี้ยังมีส่วนช่วยในการย่อยสลายของถุงเพาะชำ