การศึกษาประสิทธิภาพของกระถางชีวภาพ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

เฌอ พิเชษฐวิทย์, กิ่งฉัตร บูรณพาสน์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

นวัช ปานสุวรรณ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงาน เรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพของกระถางชีวภาพ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาว่าพืชชนิดใดสามารถนำมาใช้ผลิตเป็นกระถางที่เหมาะกับการปลูกต้นไม้ได้ดีที่สุด ทั้งในด้านความแข็งแรง ปริมาณธาตุอาหารเมื่อพืชนั้นเกิดการย่อยสลาย โดยใช้พืช 3 ชนิด คือ เปลือกถั่วลิสง ผักตบชวา และกากใบชา การทดลองที่ 1 ศึกษาชนิดของพืชที่ทำให้กระถางชีวภาพมีความแข็งแรงมากที่สุด การทดลองที่ 2 ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของปริมาณแร่ธาตุอาหารและค่า ph ในดินระหว่างที่กระถางชีวภาพย่อยสลาย การทดลองที่ 3 ศึกษาการเจริญเติบโตของพืชในกระถางชีวภาพชนิดต่างๆ

โดยผลการศึกษาพบว่า กระถางชีวภาพจากกากใบชามีความคงทนมากที่สุด สามารถรับน้ำหนักได้ 118.33 กิโลกรัม กระถางชีวภาพจากกากใบชามีปริมาณแร่ธาตุอาหารในดินมากที่สุด โดยมีปริมาณธาตุอาหารเฉลี่ยเท่ากับ 2.9 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มากเกินไป กระถางชีวภาพจากเปลือกถั่วลิสงมีค่า ph เฉลี่ยเท่ากับ 6.43 ซึ่งถือว่าเป็นดินที่เหมาะสมแก่การปลูกพืชมากที่สุด และต้นมัลเบอร์รี่ที่ปลูกในกระถางชีวภาพจากผักตบชวามีการเจริญเติบโตมากที่สุด โดยต้นมัลเบอร์รี่มีความสูงเฉลี่ย 21 เซนติเมตร มีจำนวนใบเฉลี่ย 12 ใบ และมีขนาดใบเฉลี่ย 36.24 ตารางเซนติเมตร