ผลของโบรอนต่อการทนเค็มของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

อรชพร ศรีพวาทกุล, โยษิตา รัตนคันทรง, ณัฐพร พิมาพันธุ์ศรี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2560

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เนื่องจากในประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม โดยมีข้าวขาวดอกมะลิ 105 (KDML 105) หรือที่เกษตรกรนิยมเรียกกันว่าข้าวหอมมะลิ เป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศ และพื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่อยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีพื้นที่เป็นบริเวณกว้างที่ประสบปัญหาดินเค็ม และข้าวเป็นพืชที่มีความสามารถในการทนเค็มต่ำหรือไม่ทนเค็ม ดังนั้น การคิดค้นวิธีการที่ทำให้ข้าวสามารถปลูกในพื้นที่ดินเค็มได้จะเป็นประโยชน์มาก เพราะการที่สามารถปลูกข้าวในพื้นที่ดินเค็มได้ จะช่วยเพิ่มผลผลิต และทำให้ประเทศไทยมีรายได้จากการส่งออกข้าวมากขึ้น