การศึกษาประสิทธิภาพสารเคลือบผิวจากไคโตซานของสัตว์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ไอย์รดา แพร่เมือง, อาฑิตยา นามโคตร, พีรพัฒน์ จิบทอง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อารีรัตน์ มัฐผา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
จากข้อมูลสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติจีนรายงานว่าประเทศไทยจัดเป็นแหล่งนำเข้าอาหารทะเลและผลิตภัณฑ์อันดับที่ 10 บ่งบอกถึงปริมาณการบริโภคสัตว์น้ำของไทย ซึ่งคนกรุงเทพฯส่วนใหญ่นิยมรับประทานอาหารทะเล ซึ่งในเปลือกของสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น ปูและกุ้ง จะพบปริมาณของสารไคตินอยู่มาก โดยสารไคตินนั้นมีประโยชน์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นด้านการแพทย์ ด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม เป็นต้น กลุ่มของพวกเราจึงวนใจที่จะสกัดสารไคโตซานจากเปลือกกุ้งแวนนาไมที่เหลือทิ้งจากร้านอาหาร และกระดองปูนาที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เพื่อสกัดไคโตซานที่ได้นำมาเป็นสารเคลือบผิวผลไม้เพื่อลดอัตราการสูญเสียน้ำและยืดอายุการเน่าเสีย ซึ่งผลไม้ในที่นี้คือ มะเขือเทศเชอร์รี่ เพราะเป็นผลไม้ที่มีอัตราการสูญเสียน้ำง่ายและสามารถสังเกตการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย