การศึกษาประสิทธิภาพสารสกัดไขจากใบบัวหลวง เพื่อชะลอการสูญเสียน้ำและการเปลี่ยนสีของมะม่วงน้ำดอกไม้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นิตยา พยัคฆศิรินาวิน, วิศรุต ไพศาลวัฒนการณ์, พงศธร บัวขาว
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ดวงดาว มงคลสวัสดิ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
มะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของไทย มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีปริมาณวิตามินซีและสารแคโรทีนอยด์ที่มีความสำคัญต่อร่างกาย โดยเฉพาะสารเบต้า-แคโรทีนที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ในร่างกาย มีการปลูกมากทั่วทั้งประเทศ ผลผลิตมะม่วงของไทยมีคุณภาพดี เป็นที่ยอมรับของตลาดภายในและนอกอาเซียน นับจากเดือนมกราคมถึงตุลาคม 2557 ประเทศไทยส่งออกมะม่วง 73,155 ตันมูลค่าการส่งออกรวม 2,878 ล้านบาท (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2557) สามารถผลิตส่งออกได้ปีละหลายหมื่นล้านบาท แต่ยังคงต้องสนใจในด้านการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวด้วย โดยมูลค่าการส่งออกผลผลิตของพืชส่วนใหญ่เป็นธัญพืช ขณะที่ผักผลไม้และดอกไม้มีส่วนของการส่งออกนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับธัญพืช สาเหตุสําคัญประการหนึ่งคือ เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวยังไม่ดีพอ ประกอบกับผลผลิตทางการเกษตรเหล่านี้มีการเสื่อมสภาพค่อนข้างเร็ว (เรณู ขําเลิศ, 2549) ปัญหาสำคัญที่การส่งออกมะม่วงสดของไทยที่พบ คือ การเหี่ยวและเปลี่ยนสีก่อนจัดจำหน่ายในต่างประเทศ ทางคณะผู้จัดทำจึงได้นำพืชที่มีคิวติเคิลสูงในท้องถิ่นมาใช้นั่นก็คือ ใบบัวหลวง ที่มีคิวติเคิลเคลือบหนาโดยสกัดออกมาแล้วเคลือบผลมะม่วงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพชะลอการสูญเสียน้ำและการเปลี่ยนสีก่อนจัดจำหน่าย