อุปกรณ์ควบคุมการพ่นสารลิโมนีนที่สกัดจากเปลือกผลส้มโออ่อนที่ถูกปลิดทิ้งเพื่อใช้ป้องกันการเข้าทำลายของหนอนกระทู้ผักโดยเลียนแบบโครงสร้างของดอกไม้ในวงศ์กระดังงา
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปวีณ์นุช ซุนเฟื่อง, อภิวิชญ์ เลิศไกรวัล, นันท์นภัส ธีรนันท์พัฒธน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เกียรติศักดิ์ อินราษฎร
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
หนอนกระทู้ผัก (Spodoptera litura) เป็นแมลงศัตรูพืชที่สําคัญของเกษตรกรไทย การใช้น้ํามันหอม ระเหยเพื่อป้องกันการเข้าทําลายของหนอนกระทู้ผักเป็นวิธีการหนึ่งที่ได้รับความนิยม อย่างไรก็ตามพบ ข้อจํากัดคือ การสูญเสียน้ํามันหอมระเหยอย่างรวดเร็วเนื่องจากสารเหล่านี้มักมีจุดเดือดต่ํา ทําให้มีต้นทุน การใช้งานสูง อีกทั้งพฤติกรรมในการเข้าทําลายของผีเสื้อหนอนกระทู้ผักยังเข้าวางไข่ในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ํา โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ควบคุมการพ่นสารลิโมนีนที่สกัดจากเปลือกผลส้มโออ่อนที่ถูก ปลิดทิ้งเพื่อใช้ป้องกันการเข้าทําลายของหนอนกระทู้ผัก ดังน้ันจึงออกแบบสร้างอุปกรณ์ควบคุมการพ่นสารลิ โมนีนที่สกัดจากเปลือกผลส้มโออ่อนที่ถูกปลิดทิ้งเพื่อใช้ป้องกันการเข้าทําลายของหนอนกระทู้ และเขียน โปรแกรมควบคุมด้วย IOT ทั้งนี้สารลิโมนีนใช้ได้จากเปลือกผลส้มโออ่อนที่ถูกปลิดทิ้ง ซึ่งเป็นขยะในทาง การเกษตร ซ่ึงมีการทําการทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันการวางไข่ของแม่ผีเสื้อ ป้องกันการฟักออกจากไข่ ของหนอนและป้องกันการเข้าทําลายของหมอนในกล่องทางเลือกแล้ว พบว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าน้ํามัน ตะไคร้หอมและน้ํามันยูคาลิปตัส จากนั้นนําอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นนี้มาทดสอบประสิทธิภาพในการใช้งานใน แปลงผักกาด วิเคราะห์ผลโดยนับจํานวนต้นผักกาดในแปลงที่ถูกหนอนกระทู้ผักเข้าทําลายและดักจับแมลงใน แปลงด้วยกับดัก ทําการวัดปริมาณน้ํามันหอมระเหยท่ีถูกใช้ไป เปรียบเทียบกับการใช้วิธีการดั้งเดิม (ใส่ขวดและวัสดุ ดูดซับ) พบว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพในการป้องกันหนอนกระทู้ผัก โดยมีเปอร์เซ็นต์การเข้าทําลาย ลดลงต่ํากว่าวิธีการดั้งเดิมถึง 1.8 เท่า อีกทั้งวิธีการดังกล่าวยังช่วยประหยัดน้ํามันหอมระเหยลง 4.2 เท่า โครงงานนี้จะเป็นแนวทางในการนําขยะเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และช่วยลดการใช้ สารเคมีในการป้องกันแมลงศัตรูพืชได้อีกทางหนึ่ง