ไม้อัดหน่วงไฟจากใบสักแห้ง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พริมา แซ่แต้, อาทิตยา จิตต์ไชยวัฒน์, อนัญญา โตมะสูงเนิน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อรวรรณ รัมพณีนิล, ธำรงศักดิ์ บุญจรัส
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานเรื่อง ไม้อัดหน่วงไฟจากใบสักแห้ง (Retardant fire plywood from dry teak leaves) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษา ออกแบบ และทดลองผลิตไม้อัดจากใบสักแห้ง 2) เพื่อศึกษาคุณสมบัติของไม้อัดจากใบสักแห้ง ในด้านความสามารถในการหน่วงไฟและระยะลามไฟ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการหน่วงไฟของตัวประสาน 2 ชนิด คือ การลาเท็กซ์ และกาวแป้งเปียก (แป้งข้าวเจ้า) และสารหน่วงไฟ 3 ชนิด คือ กรดบอริก บอแรกซ์ และแอมโมเนียมซัลเฟต ที่ผสมในไม้อัดจากใบสักแห้ง 4) เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตไม้อัดที่มีความสามารถในการหน่วงไฟ โดยมีกระบวนการทดลอง ดังนี้ นำ ใบสักแห้งที่ร่วงจากต้นเอาเฉพาะใบไม่เอาก้านใบมาปั่นให้ละเอียดผสมตัวประสาน 2 ชนิด คือ กาวลาเท็กซ์ และการแป้งเปียก (แป้งข้าวเจ้า) และผสมสารหน่วงไฟ 3 ชนิด คือ คือ กรดบอริก บอแรกซ์ และแอมโมเนียมซัลเฟต นำส่วนผสมคลุกเคล้าจนเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนำไปเทใส่แม่พิมพ์สี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 2 x 7 เซนติเมตร จะได้ไม้อัดที่ใช้ในการทดลอง โดยมีขั้นตอนการทดลอง คือ นำไม้อัดจ่อที่เปลวไฟเป็นเวลา 20 วินาที แล้วนำแท่งไม้อัดออกจากเปลวไฟ จับเวลาตั้งแต่เอาแท่งไม้อัดออกจนกระทั่งไฟดับ บันทึกผลการทดลอง และวัดระยะการลามไฟโดยวัดจากปลายแท่งไม้อัดถึงระยะที่ไฟลามถึง บันทึกผลการทดลอง