การศึกษาการบรรจุและปลดปล่อยตัวยา Silver sulfadiazine โดยใช้ไฮโดรเจลจากฟางข้าว
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นลิน สุขปราโมทย์, แพรวดาว เติมอารมย์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ฐิตารีย์ ทองเทียนชัย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ไฮโดรเจลเป็นพอลิเมอร์ชอบน้ำที่มีลักษณะโครงสร้างเป็นแบบร่างแห ไฮโดรเจลจะสามารถเกิดการพองตัวเมื่ออยู่ในตัวกลางที่มีน้ำและสามารถดูดซับน้ำได้ปริมาณมากและ โครงสร้างที่เป็นรูพรุนของไฮโดรเจลจะสามารถกักเก็บน้ำได้ ไฮโดรเจลจึงถูกนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลายเช่น ด้านการแพทย์ใช้เป็นวัสดุปิดแผล บรรจุยาที่สามารถควบคุมการปลดปล่อย ไฮโดรเจลส่วนใหญ่จะได้การเตรียมพอลิเมอร์สังเคราะห์ซึ่งมีความแข็งแรงสูง แต่ย่อยสลายยากและมีมอนอเมอร์ตกค้างในชิ้นงาน ทำให้เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทางคณะผู้จัดทำจึงได้ทำการศึกษาถึงวัสดุธรรมชาติเพื่อนำมาใช้เป็นวัสดุในการเตรียมไฮโดรเจล เช่น ไคโตซาน อัลจิเนต เพกทิน แป้งมันสำปะหลัง และคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (CMC) และการการศึกษาทางคณะผู้จัดทำได้พบว่าฟางข้าวมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นวัสดุเตรียมไฮโดรเจล เนื่องมาจากฟางข้าวมีโครงสร้างสำคัญคือเซลลูโลส ซึ่งเป็นโครงสร้างสำคัญของเซลล์พืช มีความแข็งแรง และสามารถนำมาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างให้เป็น CMC ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารให้ความคงตัว เหมาะสมแก่การนำมาขึ้นรูปเป็นไฮโดรเจลได้ อีกทั้งฟางข้าวเองเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เกษตรกรจึงมักนำไปเผาทำลาย ซึ่งจะ
ก่อให้เกิดมลพิษเพื่อเป็นการลดมลพิษในอากาศที่เกิดจากการเผาฟางข้าวแล้ว และเพิ่มคุณค่าให้พืชผลทางการเกษตร โดยการนำฟางข้าวมาสกัดเพื่อให้ได้เซลลูโลสแล้วนำไปเข้ากระบวนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างได้เป็น CMC ทำการขึ้นรูปเป็นไฮโดรเจล และบรรจุตัวยา Silver sulfadiazine ซึ่งใช้ในการรักษาแผลไฟไหม้ จากนั้นจะทำการตรวจสอบการบรรจุและปลดปล่อยยา