การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชกลุ่ม Poisonous Plants ที่มีผลต่อการกําจัดหญ้าตีนกา

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

อภิชญา แสงอิศราภิรักษ์, วรนนท์ ดวงสุวรรณ, พันธิตรา มีสวัสดิ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ธนัดดา คงมีทรัพย์, ศราวดี ริ้วเหลือง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การจัดทำโครงงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบมันสำปะหลัง หัวมันฝรั่ง และหน่อไม้ ที่มีผลต่อการกำจัดหญ้าตีนกา (2) เพื่อศึกษาวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการเก็บรักษาสารสกัดจากหน่อไม้ที่ความเข้มข้น 40% W/V (3) เพื่อตรวจสอบการตกค้างของกรดไฮโดรไซยานิค (HCN) ในดินหลังฉีดพ่นหญ้าตีนกาจากสารสกัดจากหน่อไม้ที่มีความเข้มข้น 40% W/V เก็บรักษาโดยการแช่เย็น (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการใช้สารสกัดจากพืชกลุ่ม Poisonous Plants ในการกำจัดหญ้าตีนกา ดำเนินการจัดทำโครงงานตอนที่ 1 นำสารสกัดจากการสกัดใบมันสำปะหลัง หัวมันฝรั่ง และหน่อไม้ ที่ปริมาณ 50 , 100, 150 , และ 200 g. หรือที่ความเข้มข้น 10% , 20% , 30% และ 40% W/V ตามลำดับ ด้วยเอทานอลที่มีความเข้มข้น 95% ตวงให้มีปริมาตรที่รวมกับปริมาณพืชแล้วได้ 500 ml. จากนั้นแช่สารสกัดทิ้งไว้ แล้วนำไปกรองด้วยผ้าขาวบาง ตรวจด้วยชุดตรวจ Cyantesmo for cyanide 0.2 mg/L HCN 5 M. เมื่อพบกรดไฮโดรไซยานิค (HCN) แล้วจึงนำไปฉีดพ่นหญ้าตีนกา/กระถาง ซึ่งเปรียบเทียบกับการฉีดพ่นหญ้าตีนกาด้วยน้ำกลั่นและเอทานอลที่มีความเข้มข้น 95% ปริมาตร 35 ml. จะได้สารสกัดจากหน่อไม้ที่มีความเข้มข้น 40% W/V ซึ่งสามารถกำจัดหญ้าตีนกาได้เร็วที่สุด เพื่อนำไปศึกษาในตอนที่ 2 ต่อไป ตอนที่ 2 ใช้สารสกัดจากหน่อไม้ที่มีความเข้มข้น 40% W/V สกัดดังวิธีการในตอนที่ 1 นำมาแช่เย็นและเปรียบเทียบกับสารสกัดที่ตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องแล้วนำไปฉีดพ่นหญ้าตีนกา/กระถาง ซึ่งการแช่เย็นเหมาะสมแก่การคงประสิทธิภาพของสารสกัดมากที่สุด ตอนที่ 3 นำดินในกระถางหลังฉีดพ่นสารสกัดและวิธีที่ดีที่สุดที่ได้จากตอนที่ 2 ปริมาณ 5 g. มาผสมกับน้ำปริมาตร 10 ml. แล้วนำไปตรวจด้วยชุดตรวจ Cyantesmo for cyanide 0.2 mg/L HCN 5 M. พบว่าไม่มีการตกค้างของกรดไฮโดรไซยานิค (HCN) และตอนที่ 4 จากการสำรวจความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ใช้งาน (กลุ่มตัวอย่าง 17 คน) พบว่าอยู่ในระดับพึงพอใจมากและมากที่สุด คือ 12 และ 5 คน ตามลำดับ และจากการสัมภาษณ์พบว่าสามารถแก้ปัญหาของเกษตรกรผู้ใช้งาน (กลุ่มตัวอย่าง 2 คน) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ