การศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีในขี้เถ้าจากฟาง ไม้มะม่วง และไม้ไผ่ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาอิเล็กโทรไลต์สำหรับเซลล์ไฟฟ้า
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นพดล กุลธนสิริ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
มนัส สิทธิโชคธรรม
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในขี้เถ้านั้นมีองค์ประกอบอยู่หลายอย่าง ซึ่งสาเหตุที่ตัวของขี้เถ้าสามารถผลิตไฟฟ้าได้ เนื่องจากตัวของขี้เถ้ามีองค์ประกอบเป็นแคลเซียมออกไซด์(CaO) แมกนีเซียมออกไซด์(MgO) โพแทสเซียมออกไซด์(K2O)และโซเดียมออกไซด์(Na2O)ซึ่งสารเหล่านี้เป็นสารอิเล็กโทรไลท์ซึ่งมีสมบัติการแตกตัวเป็นไอออนเมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำ และเกิดการนำไฟฟ้าเกิดขึ้น ทางผู้จัดทำจึงต้องการศึกษาขี้เถ้าจากพืชที่ต่างกัน 3 ชนิด ได้แก่ ฟาง ไม้โกงกาง และไม้ไผ่เนื่องจากพืชทั้ง 3 ชนิดนี้มีลักษณะเนื้อไม้ที่แตกต่างกันซึ่งการนำขี้เถ้ามาผลิตไฟฟ้า จะมีการต่อเซลล์ไฟฟ้าเคมีอย่างง่ายเพื่อทดสอบ โดยการสร้างเซลล์ไฟฟ้าเคมีจะต้องมีบริเวณที่ขั้วไฟฟ้า และอิเล็กโทรไลต์สัมผัสกันที่แตกต่างกันอย่างน้อย 2 ชนิด ซึ่งเซลล์ไฟฟ้าเคมีอย่างง่าย จะประกอบด้วยขั้วไฟฟ้าอย่างน้อย 2 ขั้ว และอิเล็กโทรไลต์1 ชนิด โดยทางคณะผู้จัดทำจะใช้ขี้เถ้าจากพืชทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ ฟาง ไม้โกงกาง และไม้ไผ่ เป็นสารอิเล็กโทรไลท์