การศึกษาค่า pH ของน้ำที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของยุงลายและยุงรำคาญ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ธัญยธรณ์ หลงขาว, ชาบดี แก้วน้อย, ภูริชญา สุขเลื้อง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

พัชรา พงศ์มานะวุฒิ, หนึ่งฤทัย ชัยมณี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในปัจจุบัน และการปล่อยมลพิษทางอากาศ ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดฝนกรดเพิ่มมากขี้น รวมถึงการปล่อยสารเคมีต่างๆ ลงสู่แหล่งน้ำ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ค่า pH ของน้ำที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงมีการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการแพร่กระจายของยุงที่เป็นพาหะของโรคต่างๆ เช่น ไข้เลือดออก ทางผู้จัดทำจึงมีความสนใจเกี่ยวกับค่า pH ของน้ำ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของยุงลายและยุงรำคาญซึ่งเป็นยุงที่พบมากในชุมชน โดยนำไข่ยุงลายและไข่ยุงรำคาญมาเลี้ยงในน้ำที่มีค่า pH ที่แตกต่างกัน(4-8) แล้วบันทึกจำนวนลูกน้ำที่ฟักออกจากไข่ ระยะเวลาที่ไข่ฟักออกมาเป็นลูกน้ำ ขนาดของลูกน้ำยุงแต่ละระยะ จำนวนครั้งในการลอกคราบ เวลาในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของยุงในแต่ละระยะ และโอกาสในการเจริญเติบโตเป็นตัวผู้และตัวเมีย เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงกับโอกาสในการแพร่กระจายของโรค เพื่อสร้างความตระหนักให้คนเข้าใจและหาแนวทางในการป้องกันต่อไป