ภาชนะบรรจุอาหารจากเส้นใยกาบมะพร้าว

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ภาณุพงศ์ ชีพสถาพร, ภาณุพงศ์ รอดความทุกข์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

พิชญา ทิพย์ศรี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เนื่องจากในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่ใช้ส่วนประกอบของมะพร้าวได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เช่น ผลิตภัณฑ์ยาสระผมมะพร้าว, น้ำมันมะพร้าว และ สิ่งบริโภคต่างๆ เป็นต้น เนื่องจากความนิยมที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดขยะชีวภาพมากขึ้นเช่นกัน เช่น เปลือกมะพร้าว, กะลามะพร้าว และ กาบมะพร้าว จำนวนมากที่เกิดจากกระบวนการการผลิต ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีวิธีกำจัดไม่กี่วิธีที่จะทำให้ไม่เกิดมลพิษตามมา จากการสืบค้นทำให้ทราบว่า ในสภาวะปัจจุบันมีปัญหาขยะจากพลาสติกและกล่องโฟมเป็นจำนวนมาก ทางกลุ่มเราจึงได้แนวคิดในการจัดการขยะชีวภาพจากมะพร้าว นำมาควบคู่กับปัญหาจากสภาวะปัจจุบัน ทางกลุ่มเราจึงเลือกที่จะสร้างภาชนะบรรจุอาหารจากเส้นใยกาบมะพร้าว

การพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประดิษฐ์ภาชนะทางเลือก สำหรับช่วยในการลดปัญหามลพิษต่างๆในปัจจุบัน การพัฒนาครั้งนี้จะศึกษา อัตราส่วนของเส้นใยต่อตัวประสาน,ชนิดของตัวประสาน เป็นต้น โดยมีขั้นตอน คือ การเตรียมเส้นใยจากกาบมะพร้าว หลังจากนั้นจะทดลองหาความสามารถของตัวประสานต่างชนิด และ อัตราส่วนในการผสม โดย จะแบ่งเป็น 6 ชุดการทดลอง โดยจะใช้ เส้นใยกาบมะพร้าว 25,50,75 กรัม ต่อ ตัวประสานน้ำมันสำปะหลัง

75,50,25 มิลลิลิตร และ เส้นใยกาบมะพร้าว 25,50,75 กรัม ต่อ ตัวประสานแป้งข้าวโพด 75,50,25 มิลลิลิตร ขั้นตอนต่อไปคือ การทดลองหาความสามารถทางกายภาพของภาชนะจากเส้นใยกาบมะพร้าว เช่น ความทนต่อแรงดึง,การซึมน้ำ,การย่อยสลาย,อุณหภูมิสูงสุดที่ภาชนะรับได้ เป็นต้น เพื่อทดสอบว่า ภาชนะที่ผลิตมาจะมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคหรือไม่