การผลิตถ่านกัมมันต์จากเปลือกกุ้งขาวเพื่อใช้กำจัดไอออนของ Cd2+ ในน้ำ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปริศนา พรมณี, ครองขวัญ ไชยเพชร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พรพิมล เรืองเพ็ง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
จากปัญหาที่พบการปนเปื้อนของแคดเมียมในน้ำและคุณสมบัติของ Litopenaeus vannamei ผู้จัดทำโครงงานจึงได้จัดทำโครงงานการผลิตถ่านกัมมันต์จากเปลือกกุ้งขาว ซึ่งมีส่วนประกอบจากไคติน ของ Litopenaeus vannamei โดยถูกนำไปผ่านกระบวนการคาร์บอไนเซชันเเละถูกกระตุ้นด้วยโพเเทสเซียมไฮดรอกไซด์ ได้เป็นถ่านกัมมันต์ที่มีรูพรุนระดับนาโน มีพื้นที่ผิวจำเพาะสูง เเละมีความเสถียรดี จึงถูกนำไปวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ ปริมาณความชื้น ปริมาณเถ้า และการวิเคราะห์สัณฐานวิทยาและพื้นผิวของถ่านกัมมันต์โดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด (Scanning Electron Microscope: SEM) เนื่องจากพื้นผิวของถ่านกัมมันต์มีคุณสมบัติเป็นตัวดูดซับที่สามารถปรับเปลี่ยนเเละเปลี่ยนเเปลงไปตามลักษณะต่างๆ ของไอออนโลหะหนักได้ จึงสามารถตรวจวิเคราะห์หาปริมาณความเข้มข้นของโลหะหนัก Cd 2+ในน้ำได้ ด้วยเครื่อง Atomic Absorption Spectrometer โดยใช้เทคนิค Flame Atomic Absorption Spectroscopy (FAAS) เนื่องจากมีสภาพไวในการวิเคราะห์สูงและถูกต้องแม่นยำกว่าเทคนิคอื่นๆ