การผลิตถุงพลาสติกชีวภาพจากเจลาตินที่สกัดจากเกล็ดปลาทับทิม
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ราฟีดา อับดนเลาะ, ปิยะฉัตร ยึดมั่น
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พรพิมล เรืองเพ็ง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ถุงพลาสติกมีข้อดีและประโยชน์หลายอย่างเนื่องจากมีความยืดหยุ่นจึงทำให้สามารถใช้งานได้หลากหลายแต่ถุงพลาสติกทั่วไปในปัจจุบันนั้นใช้เวลาในการย่อยสลายเป็นเวลานานสร้างมลภาวะที่เกิดจากการเผาขยะมูลฝอยซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวทางคณะผู้จัดทำจึงต้องการที่จะสร้างนวัตกรรมถุงพลาสติกชีวภาพจากการนำวัสดุเหลือใช้มาสร้างประโยชน์โดยการผลิตถุงพลาสติกชีวภาพจากเจลาตินที่สกัดจากเกล็ดปลาทับทิมโดยการนำเจลาตินจากเกล็ดปลาทับทิมไปเป็นสารตั้งต้นของถุงพลาสติกชีวภาพและเนื่องจาเจลาตินเป็นผลิตภัณฑ์ที่สกัดจากคอลลาเจนเป็นโปรตีนที่มีน้ำหนักของโมเลกุลสูงประกอบด้วยกรดอะมิโน 18 ชนิด เจลาตินสามารถดูดซึมน้ำได้ 5 – 10 เท่า เมื่อได้รับความร้อนเจลาตินจะมีสภาพเป็นของเหลว เมื่อเย็นตัวลงจะกลับสู่สภาพที่เป็นเจลอีกทั้งยังมีคุณสมบัติความเหนียวใสและไร้กลิ่น ด้วยคุณสมบัติพิเศษนี้นับว่าเป็นทางเลือกที่ดีในการเลือกใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตถุงพลางติกชีวภาพแทนโพลีเอทิลีน(ผลผลิตจากปิโตรเลียม)ซึ่งเป็นสารตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตพลาสติกทั่วไป