การผลิตเส้นใยธรรมชาติจากดอกบัวหลวงพันธุ์ฉัตรขาวบริเวณก้านบัวเพื่อพัฒนาเป็นแผ่นแปะซับเหงื่อและเปรียบเทียบคุณสมบัติทางกายภาพ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฐนนท์ อินทร์กลิ่น, วนิดา ศรีเพชร, ชญานิศ ภูอัครนันท์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สุทธิวิชญ์ พงษ์ธนาวิสิฐ, ศิริพร เทียนเบ็ญจะ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นใยก้านบัวหลวงพันธุ์ฉัตรขาว (Bua Chat Kao) สำหรับการนำมาทำ แผ่นแปะซับเหงื่อจากเส้นใยธรรมชาติ เพื่อทดแทนแผ่นแปะซับเหงื่อในปัจจุบันที่มีราคาสูงและเมื่อใช้งานเสร็จไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และเพื่อพัฒนาเส้นใยจากผลผลิตทางการเกษตรและขยะเหลือใช้จากการเกษตรเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของวัสดุธรรมชาติ (Upcycling) โครงงานนี้เล็งเห็นถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็น นักเรียน นักกีฬา และบุคคลที่ประสบปัญหาขณะวิ่งและทำกิจกรรมกลางแดดส่งผลให้มีคราบเหงื่อ กลิ่นเหงื่อบริเวณรักแร้และข้อพับ

โครงงานนี้มีจุดมุ่งหมายให้ผลผลิตสามารถขายทอดสู่ท้องตลาดได้ และตอบสนองกลุ่มเป้าหมาย โดยวิธีการดำเนินการทดลอง นำก้านบัวเหลือที่ได้จากการเด็ดส่วนดอกบัวไปใช้งาน มาผ่านกระบวนการการผลิตเส้นใย โดยใช้เครื่องมือปั่นด้ายโบราณอันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น นำเส้นใยก้านบัวหลวงพันธุ์ฉัตรขาวที่ได้นำมาผ่านกรรมวิธีเป็นแผ่นผ้าขนาดเล็ก และทดสอบคุณสมบัติการซึมซับน้ำ การระบายความร้อน เพื่อให้เหมาะสมต่อการนำมาผลิตเป็นแผ่นแปะซับเหงื่อจากเส้นใยธรรมชาติ