การศึกษาหาความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่เหมาะสมที่สุดที่มีผลต่อประสิทธิภาพของกระดาษรังผึ้งจากเยื่อกาบกล้วยของกล้วยน้ำว้า

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

อิสสริย์ เมฆสกุลวงศ์, รัมภ์รดา รอดเนียม

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ศศิธร ณ ระนอง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เนื่องจากในปัจจุบันกระดาษรังผึ้งเป็นกระดาษที่นิยมนำมาใช้ในการห่อกันกระแทก ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ มีน้ำหนักเบาและสามารถยืดเพื่อห่อหุ้มวัตถุรูปทรงต่าง ๆ ได้ จึงสามารถใช้งานได้ง่าย ซึ่งถูกผลิตมาจากกระดาษคราฟท์ (Kraft Paper) ที่ผลิตมาจากเยื่อเคมี (Chemical Pulp) จากกระบวนการคราฟท์ (Kraft Process) โดยวิธีการนี้จะใช้ทั้งสารเคมีและความร้อนเพื่อทำการแยกเยื่อไม้ ซึ่งจะทำให้ได้กระดาษที่ได้มีความแข็งแรง คงทน และมีความเหนียวสูง แต่ข้อเสียของกระบวนการคราฟท์ คือ ใช้ต้นทุนสูงและสารเคมีจำนวนมาก ทางกลุ่มของพวกเราจึงมีแนวคิดที่จะนำกาบกล้วยจากกล้วยน้ำว้า Musa sapientum L. ซึ่งสามารถพบเห็นได้มากในประเทศไทย และมีลักษณะของเส้นใยที่เหนียวและแน่นกว่าเส้นใยของกล้วยพันธุ์อื่น (ATDP, 2017) มาแปรรูปให้เป็นกระดาษรังผึ้งแทนการใช้กระดาษคราฟท์ เนื่องจากมีการใช้สารเคมีที่น้อยกว่าในกระบวนการผลิตและใช้ต้นทุนน้อย เพราะเป็นการนำทรัพยากรที่เหลือใช้อย่างกาบกล้วย มาใช้ให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งกาบกล้วยยังมีคุณสมบัติและลักษณะเป็นเส้นใยที่สามารถนำมาผลิตเป็นเยื่อกระดาษได้อีกด้วย ซึ่งในกระบวนการผลิตกระดาษรังผึ้งจากกาบกล้วยน้ำว้า จำเป็นต้องมีการนำกาบกล้วยไปแช่ในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เพื่อย่อยสลายโครงสร้างลิกนิน (Lignin) ซึ่งเป็นโครงสร้างพอลิเมอร์อินทรีย์ที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นกาวที่ช่วยยึดเส้นใยเซลลูโลส (Cellulose) ให้แน่น (Food Network Solutions, 2017) จากเหตุผลดังกล่าว ทางกลุ่มของพวกเราจึงต้องการศึกษาหาความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่เหมาะสมที่สุดที่มีผลต่อประสิทธิภาพของกระดาษรังผึ้งจากกาบกล้วยน้ำว้า