ถุงเพาะชำอนุบาลต้นกล้าจากไบโอพลาสติกจากแป้งมันสำปะหลัง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

นาธาน สะราคำ, ชนภัช โชติภัทร์กุล, ธีธัช กาฬภักดี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ฉัตรชนก กรานต์บุณภักดี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การเพาะชำกล้าต้นไม้ในปัจจุบันเป็นการเพาะชำในถุงพลาสติกซึ่งไม่สามารถย่อยสลายได้ก่อให้เกิดมลภาวะทางดินและอากาศ ผู้ศึกษาจึงคิดผลิตถุงไบโอพลาสติกจากแป้งมันสำปะหลัง ที่สามารถย่อยสลายได้ อีกทั้งไม่ต้องแกะถุงออกทำให้รากพืชเกิดความเสียหาย ซึ่งผู้ศึกษาได้แบ่งการศึกษาเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่การศึกษาหาชนิดของแป้งที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการทำถุงพลาสติก พบว่าแป้งมันสำปะหลัง มีคุณสมบัติเหมาะสมคือเหนียว ใส และยืดหยุ่นได้ดี ต่อมาศึกษาหาอัตราส่วนที่ดีที่สุดในการผลิตถุงพลาสติก จากส่วนผสมระหว่างแป้งมันสำปะหลัง :น้ำ : กลีเซอรอล คือ 5:100:2 สุดท้ายศึกษาการขึ้นรูปพลาสติก พบว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมในการอบขึ้นรูปพลาสติกคือ 60 องศาเซลเซียส