การทำโซลาร์เซลล์จากซิลิกอนที่ได้จากขยะเซรามิก

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พอฤทัย คบสหาย, บุญญิสา วังวงศ์, เมธาวี จินะหล้า

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วริศรา กุณาบุตร, ทศวัฒน์ หอมแก่นจันทร์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนลำปางกัลยาณี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การวิจัยเรื่อง การทำโซลาร์เซลล์จากซิลิกอนที่ได้จากขยะเซรามิก จัดทำขึ้นเนื่องจากคณะผู้จัดทำอาศัยอยู่ในอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ที่มีชื่อเสียงในเรื่องการทำเซรามิก มีโรงงานอุตสาหกรรมเซรามิก และการนำเซรามิกมาใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นผลทำให้มีเศษเซรามิกที่ชำรุดเสียหายหรือมีตำหนิถูกนำมาทิ้งในพื้นที่รกร้างต่างๆจำนวนมาก และไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ ทางคณะผู้จัดทำเห็นว่า ภายในเซรามิกเหล่านั้นมีซิลิกอน (Si) เป็นส่วนประกอบอยู่ จึงศึกษาวิธีการนำซิลิกอน(Si)ออกมาใช้เป็นส่วนประกอบของโซล่าเซลล์ เพื่อลดปริมาณขยะเซรามิก ลดต้นทุนในการผลิตโซล่าเซลล์ และเพิ่มคุณค่าของขยะเซรามิก มีวิธีดำเนินการแยกซิลิกอนออกจากเซรามิก โดยนำเซรามิกมาเผาที่อุณหภูมิสูงแล้วนำไปแช่ในสารละลายบัฟเฟอร์ คาดว่าเมื่อเวลาผ่านไปความเข้มข้นของซิลิกอน (Si) ในสารละลายบัฟเฟอร์เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ซิลิกอนบริสุทธิ์สามารถตรวจสอบโดยเทคนิคการวิเคราะห์ SEM และ XRD ส่วนความเข้มข้นของซิลิกอน ในสารละลายบัฟเฟอร์ หลังการแช่จะใช้ ICP-AES ในการตรวจสอบ และขั้นสุดท้ายจะนำเอาซิลิกอนที่ได้ มาทดลองใช้เป็นส่วนประกอบของโซลาร์เซลล์ โดยใช้เป็นตัวนำไฟฟ้าในโซลาร์เซลล์