เเผ่นปิดเเผลห้ามเลือดเเละลดการอักเสบจากเปลือกกล้วยเเละหยวกกล้วย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชนัญชิดา เจริญศิริ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นารีรัก เหยียดกระโทก
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เปลือกกล้วย และหยวกกล้วยเป็นส่วนประกอบของกล้วยที่ยากจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ จากการสำรวจพบว่าประเทศไทยมีปริมาณขยะจากกล้วยมากถึง 200 ตันต่อวัน โดยในปัจจุบันมีการนำวัสดุจากธรรมชาติมาปรับปรุงให้มีคุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพที่หลากหลายสำหรับใช้เป็นวัสดุทางการแพทย์ เช่น แผ่นปิดแผล จากพอลิแซ็คคาไรด์ และเซลลูโลสซึ่งเป็นพอลิเมอร์ที่พบได้ง่ายในธรรมชาติ ในเปลือกกล้วยนั้นมีสารพฤกษเคมีหลายชนิดที่ช่วยในการยับยั้งแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการอักเสบคือ flavonoids, tannins และ phenolic compounds หลายชนิด และในหยวกกล้วยมีมีส่วนประกอบของโปรตีนเลคตินซึ่งเป็นโปรตีนที่สามารถเพิ่มความสามารถในการแข็งตัวของเลือดได้ ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนาแผ่นปิดแผลห้ามเลือดและยับยั้งการอักเสบจากสารสกัดของเปลือกกล้วยและหยวกกล้วย โดยนำเปลือกกล้วยมาตากแห้ง ทำการปั่นและหมักด้วยเอทานอล 95 % จากนั้นนำสารสกัดหยาบมาหาปริมาณสารประกอบฟินอลิก และทดสอบการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureu และมีการทดสอบการแข็งตัวของเลือดจากสารสกัดจากหยวกกล้วย โดยสังเกตจากการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด เพื่อเปรียบเทียบกับกรดทรานเอกซามิกที่ใช้เป็น positive control และ แอสไพรินที่ใช้เป็น negative control
จากผลการทดลองพบว่า ปริมาณของสารสกัดหยาบที่สามารถยับยั้งเชื้อ S. aureus ได้ดีที่สุดคือ 16 มิลลิกรัมต่อลิตร และสารสกัดจากหยวกกล้วยสามารถทำให้เลือดแข็งตัวได้ โดยเทียบกับยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ในการทำให้เลือดแข็งตัว ดังนั้นสารสกัดจากเปลือกกล้วยและหยวกกล้วยจึงมีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการนำมาพัฒนาเป็นแผ่นปิดแผลห้ามเลือดและยับยั้งการอักเสบ