ระบบปรับสภาวะแวดล้อมสำหรับการเพาะปลูกพืชระบบแอโรพอนิกส์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ชิษณุพงศ์ ทวีโชติกิจเจริญ, ปัณณวิชญ์ ปทุมมาศ, พันแสง ลิขิตวรกุล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

จุฑามาศ คงอภิรักษ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเซนต์ดอมินิก

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

จากการทดลองระบบปลูกแบบ hydroponic ในพื้นที่จริง พบว่าปัญหาของระบบการปลูกแบบ hydroponic จะใช้น้ำมาก จึงใช้ PERMA ที่ปลูกด้วยระบบรากแขวนอยู่ในอากาศ aeroponic culture หรือระบบการปลูกพืชระบบแอโรพอนิกส์ ซึ่งเป็นการสร้างระบบสำหรับการปลูกพืชที่ใช้พื้นที่จำกัด ร่วมกับระบบควบคุมปัจจัยเพาะปลูก (PERMA) ประกอบไปด้วย แสง เสียง แร่ธาตุ อุณหภูมิ ความชื้น และความเป็นกรด-ด่าง โดยทำการเปรียบเทียบกับการปลูกพืชระบบแอโรพอนิกส์ที่ใช้ระบบ PERMA และการปลูกพืชแบบไฮโดรพอนิกส์ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยในการเจริญเติบโตของพืชที่ถูกควบคุม โดยระบบ PERMA มีการใช้แสง LED grow light full spectrum นำมาใช้ทดแทนแสงจากดวงอาทิตย์ เนื่องจากบางพื้นที่มีแสงไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช ปัจจัยในเรื่องเสียงจะใช้คลื่นเสียงในช่วงความถี่ที่เหมาะสมในการช่วยกระตุ้นระบบท่อลำเลียงอาหารของพืชและช่วยจัดเรียงโมเลกุลของน้ำเพื่อให้พืชสามารถดูดซึมน้ำได้ดีขึ้น เป็นการช่วยเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของพืช การให้อาหารจะใช้วิธีฉีดพ่นแร่ธาตุในรูปแบบสารละลายเป็นละอองฝอยไปที่รากพืชโดยตรงอย่างต่อเนื่อง หรือฉีดพ่นเป็นระยะ ๆ ในส่วนของอุณหภูมิและความชื้นจะควบคุมให้เหมาะสมกับชนิดของพืชที่ปลูกในช่วงเวลานั้น ๆ สุดท้ายเป็นการปรับค่าความเป็นกรด-ด่างในน้ำให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้น้ำมีความเป็นกรด-ด่างมากเกินไปเนื่องจากมีผลต่อแร่ธาตุในการละลายน้ำ คาดว่าผลการทดลองจากการใช้ระบบปรับสภาวะแวดล้อมสำหรับการเพาะปลูกพืชแบบอัตโนมัติโดยใช้ระบบแอโรพอนิกส์ จะมีประสิทธิภาพที่มากกว่าการปลูกแบบไฮโดรพอนิกส์ และได้ผลผลิตมีคุณภาพ