เจลฆ่าเชื้อจากสารสกัดหยาบของเห็ดฟาง ใบสาบเสือ ผักบุ้งจีน และกระเทียม

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

กนกรัตน์ ภูตีนผา, พิมพ์ชนก หาแก้ว

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

เปรนิกา มณีท่าโพธิ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเห็ดฟาง กระเทียม ผักบุ้งจีน และใบสาบเสือที่มีผลต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ 2)เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ด้วยสารสกัดที่ผสมระหว่างสารสกัดหยาบจากเห็ดฟางและพืชท้องถิ่น อันได้แก่ เห็ดฟาง กระเทียม ผักบุ้งจีน และใบสาบเสือ ในอัตราส่วนต่างๆ 3)สร้างผลิตภัณฑ์เจลฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus โครงงานครั้งนี้ มีวิธีการดำเนินงานโดยทำการสกัดเห็ดฟาง ผักบุ้งจีน กระเทียม และใบสาบเสือ ด้วยวิธีการสกัดแบบหมัก (Maceration) ในตัวทำละลายเอทานอล 95% แล้วสารสกัดแต่ละตัวที่ได้มาผสมกันในอัตราส่วนต่างๆ ผลการทดสอบการยับยั้งแบคทีเรีย S.aureus ของสารที่สกัด โดยการทดสอบหาบริเวณยับยั้ง(Inhibition zone) ด้วยวิธี Disc diffusion method พบว่า บริเวณยับยั้ง (Inhibition zone)ของสารสกัดหยาบจากเห็ดฟาง กระเทียม ผักบุ้งจีน และใบสาบเสือ ในอัตราส่วน 16 : 16 : 16 : 50 ตามลำดับ มีค่ามากกว่าสารสกัดหยาบจากเห็ดฟาง กระเทียม ผักบุ้งจีน และใบสาบเสือ ในอัตราส่วนอื่นๆที่ความเข้มข้นของสารสกัดเท่ากัน จากนั้นทำการทดสอบหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญ (Minimal inhibitory concentration,MIC) ด้วยวิธี Broth dilution technique พบว่า สารสกัดหยาบเห็ดฟาง กระเทียม ผักบุ้งจีน และใบสาบเสือ ในอัตราส่วน 16 : 16 : 16 : 50 ตามลำดับ มีหลอดที่ไม่มีความขุ่น 5 หลอด จากหลอดทดลอง 9 หลอด ซึ่งมีความเข้มข้นต่ำสุดคือ 6.25 mg/ml และทำการทดสอบหาค่าความเข้มข้นต่ำ สุดที่สามารถฆ่าเชื้อได้ (Minimal bactericidal concentration, MBC) ด้วยวิธี Agar dilution technique พบว่าสารสกัดหยาบเห็ดฟาง กระเทียม ผักบุ้งจีน และใบสาบเสือ ในอัตราส่วน 16 : 16 : 16 : 50 ตามลำดับ ที่มีความเข้มข้น 25 mg/ml มีความสามารถในการฆ่าเชื้อได้ดีที่สุด