การลดปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 ในอากาศด้วยการเลียนแบบกลไกการดักจับฝุ่นของ Trichome ต้นเคราฤาษี

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ภูวมินทร์ หมุกแก้ว, ธีรภัทร ศรีแก้ว

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

นิรันดร์ เหลืองสวรรค์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา"

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ฝุ่นละอองเป็นมลพิษทางอากาศที่เป็นปัญหาร้ายแรงอย่างมาก โดยมีวิธีการลดปริมาณของฝุ่นในอากาศแล้ว แต่ก็ยังมีปริมาณฝุ่นละอองในอากาศมากอยู่ จึงทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ กับมนุษย์ ซึ่งฝุ่นละอองมีขนาดเล็กมากที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าจึงทำให้ประชาชน บางรายเกิดอาการภูมิแพ้หรือมีอาการหนักกว่านั้น (อนุสรา, 2558) ซึ่งฝุ่นละอองเหล่านี้เมื่ออยู่ภายในอาคารหรือบ้านเรือน นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพแล้วยังทำความสะอาดได้ยาก มนุษย์เราจึงนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ไขอย่างเช่น เครื่องดูดฝุ่น แต่ก็ยังมีราคาสูงและยังไม่สามารถดูดฝุ่นละอองที่ลอยอยู่ในอากาศได้ หรือการใช้เครื่องกรองฝุ่น แต่ยังมีราคาสูงมากเช่นกัน จึงทำให้ผู้ที่ประสบปัญหาเข้าถึงได้ยาก (อรวรรณ, 2560)

จากแรงบันดาลใจในการกักเก็บฝุ่นละอองของต้นเคราฤๅษีหรือเรียกอีกอย่างว่า มอสสเปน เป็นพืชในวงศ์สับปะรดที่ไม่มีราก ต้นห้อยย้อยลงมาเป็นสายยาว พบน้อยที่มีรากเส้นเล็ก ๆ งอกออกมา ดอกกลิ่นหอมอ่อน ๆ ดูดน้ำโดยทางใบสีเทาเงิน เนื่องจากมีไตรโคม (Trichome) สีเงินบนใบช่วยดูดน้ำจากอากาศที่ชุ่มชื้นได้ดี จะมีเฉพาะรากแรกเกิดที่ยึดเกาะกับวัสดุที่อาศัย จากนั้นจะไม่แตกรากอีกมีการนำต้นเคราฤๅษีมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น เป็นวัสดุปลูกในงานแต่งสวน และที่สำคัญคือ ต้นเคราฤๅษีสามารถกักเก็บฝุ่นได้ (นฤพร, 2559)

ดังนั้นผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว โดยการประดิษฐ์ต้นเคราฤๅษีเทียมที่เลียนแบบจากต้นเคราฤๅษีที่สามารถลดปริมาณฝุ่นได้ จากวัสดุธรรมชาติเพื่อมาแก้ปัญหาให้ลดน้อยลงจากมลพิษทางอากาศและลดการเกิดโรคจากมลพิษ ซึ่งเป็นการนำวัสดุที่เหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด