อธิบายความสัมพันธ์ของกลไพ่ The power of three

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

จตุพร รักงาม, ณัฐฐินันท์ ปะวาณศรี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

รฐา ป้อมเกษตร์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

กลไพ่ หรือ มายากลไพ่ คือ ศิลปะการแสดงที่มีการใช้ไพ่เป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดง มีลักษณะการแสดงเป็นแบบการลวงตาต่อผู้ชม โดยแสดงเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ให้เกิดขึ้น ราวกับว่าผู้แสดงมีเวทมนตร์ การแสดงมายากลนี้มีการแสดงหลากหลาย ผู้แสดงมายากลจะถูกเรียกว่า นักมายากล หรือ มายากร จุดมุ่งหมายของการแสดงมายากลนั้นใช้เพื่อความบันเทิงและการตื่นตาต่อผู้ชมเป็นหลัก

จากการดูกลไพ่ เราจะพบได้ว่า จริงๆแล้วคณิตศาสตร์สามารถอธิบายกลไพ่บางกลไพ่ อย่างกลไพ่ The power of three เป็นการทายหมายเลขหน้าไพ่ที่ถูกปิดไว้จากผลรวมของหน้าไพ่ โดยใช้สมบัติของเลข 9 ที่ไม่ว่าจะคูณเลขโดดที่เป็นจำนวนนับเข้าไป ผลรวมของผลลัพธ์จะเท่ากับ 9 เสมอ

จากการศึกษาคุณสมบัติของเลข 9 ที่ว่าจำนวนที่จะหารด้วย 9 ลงตัว ก็ต่อเมื่อ ผลบวกของเลขโดดทุกหลัก หารด้วย 9 ลงตัว และสังเกตผลรวมของผลลัพธ์ของผลคูณจำนวนเต็มใดๆ กับ 9 ทำให้เราได้มาซึ่งวิธีลัดในการหาผลลัพธ์ของผลคูณจำนวนเต็มใดๆกับ 9 ดังนี้ ผลคูณของ 9 กับจำนวนเต็มใดๆ โดยที่ 9X=ab เช่น 9x534 ซึ่งคำตอบคือ a และ b โดย b คือ เลขโดดตัวสุดท้ายของผลลัพธ์ ของเลขโดดตัวสุดท้ายของ X คูณ 9 จากตัวอย่าง 9x4=36 ดังนั้น b=6 และค่า a คือ จำนวนที่ใกล้ที่สุดมากกว่า x และมีหลักหน่วยเป็น 0 โดย a จะเท่ากับ X-หลักสิบของจำนวนนั้น จากตัวอย่าง จำนวนที่ใกล้ 534 ที่มากกว่าและมีหลักหน่วยเป็น 0 คือ 540 ดังนั้น a =534-4=530 ซึ่งคำตอบของ 9x534=5306 ซึ่งก็คือจำนวน a และเลขโดด b ต่อกัน

วิธีลัดของการหาผลลัพธ์ของผลคูณจำนวนเต็มใดๆ กับ 9 ทำให้ผู้ที่ต้องการหาผลลัพธ์ของผลคูณจำนวนเต็มใดๆ กับ 9 โดยที่จำนวนเต็มนั้นมีหลายหลัก สามารถหาผลลัพธ์ได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น